คำถาม: อยากรู้เรื่องการถอดจิตน่ะครับ....จะฝึกอย่างไร ? และมีอันตรายหรือเปล่าครับ ? คำตอบ : ถามสั้นๆ.....แต่ผมชอบตอบยาวๆ 1.การ "ถอดจิต" นั้น จริงๆใครก็ทำได้.....ถ้ามีการฝึกที่ดี เพราะตามปรกติจิตกับกายก็เป็นคนละส่วนกัน แต่มาอยู่ด้วยกัน เมื่อมีการฝึก...จิตก็จะแยกจากกายได้ 2.การ "ถอดจิต" ทำได้ 3 วิธี (เท่าที่นึกได้) - เกิดจากการฝึกสมาธิ ซึ่งไม่ได้จำกัดว่าสมาธิระดับไน จะได้ฌาณระดับไหน...อย่าไปใส่ใจเลย เมื่อเป็นสมาธิ และสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย (เช่น...ความเงียบ สถานที่ที่มีพลังงานมาก เช่น ตามวัด หรือหน้าพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ) จิตก็พร้อมจะถอดเอง สำคัญอยู่ว่า เวลาที่ทำสมาธิ อย่านึกว่าจะ "ถอดจิต" เพราะความยากเป็นกิเลส ไม่สามารถทำได้ แต่วิธีที่ดีที่สุดก็คือ อธิษฐานก่อนทำสมาธิ แล้วทำไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องสนใจคำอธิษฐาน เมื่อถึงเวลาที่จิตสงบ..จิตกับกายจะแยกออกจากกันเองโดยอัตโนมัติ - เกิดจากผู้ที่ปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนา กรรมฐาน มานาน มีพลังงานมากและเคยถอดจิตได้ เป็นผู้ "ดึง" กายทิพย์ของคนอื่นหรือลูกศิษย์ออกไป เพื่อเป็นการศึกษา ปัจจุบันนี้มีคนทำได้อยู่ แต่ท่านมักไม่ทำให้ใคร นอกจากจำเป็น - เกิดจากภาวะอัตโนมัติ คือออกไปเองโดยไม่ได้กำหนดว่าจะ "ถอดจิต" 3.การถอดจิตกับการส่งจิตไปนั้น คนละอย่าง...แต่คล้ายกัน การที่ไปเห็นโน่นเห็นนี้ หรือเดินทางไปที่โน่นที่นี่นั้น บางทีก็ไม่ใช่การ "ถอดจิต" แต่เป็นการส่งจิตไปเท่านั้น (คือกายทิพย์ไม่ได้ออกไปจริงๆ เพียงแต่คิดเท่านั้นเอง แบบนี้สังเกตง่ายว่า มักจะเห็นในที่ที่เคยไปหรือเห็นในที่ที่เคยได้ยินได้ฟังได้อ่านมาเท่านั้น) ส่วนการ "ถอดจิต" หรือ "ถอดกายทิพย์" นั้น มักจะไปในที่ที่ไม่เคยไป ไม่ได้เคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับสถานที่ที่ไปมาก่อน และที่สังเกตได้ง่ายก็คือ "เมื่อถอดกายทิพย์ได้แล้ว ต้องมองเห็นร่างของตัวเองด้วยทุกครั้ง" 4.การถอดจิตมีผลดีคือ -ได้รู้สภาวะของจิต เป็นการยืนยันสนับสนุนว่าจิตกับกายเป็นคนละส่วนกัน แต่อยู่ร่วมกัน -ได้รู้ได้เห็นได้สัมผัสในโลกที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า -ได้รู้เรื่องราวของชาติที่แล้ว ชาติหน้า เพื่อผลในการเชื่อเรื่อง " กฎแห่งกรรม" -ใช้เวลาได้รับทุกขเวทนา เช่น เจ็บปวดมากๆเวลาไม่สบาย หรือเป็นโรครุนแรง ก็ถอดจิตไป เพื่อจะไม่ต้องรับความทุกข์นั้น -เมื่อก่อนเวลาที่จะตาย สามารถถอดกายทิพย์ไปยังภพภูมิที่ดีก่อน ( สวรรค์) โดยไม่ต้องรอคำตัดสิน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องมารับกรรมชั่วที่เคยทำ แต่สามารถเลือกไปยังภพภูมิที่ดีก่อน เมื่อหมดบุญ...ก็ตกนรกได้ เพราะถึงจะถอดจิตถอดกายทิพย์ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะหนีกรรมได้ 5.การถอดจิตมีผลเสียคือ -สร้างความงมงายให้เกิดขึ้นในจิต เช่น ไปพบสิ่งที่ดีๆที่สวยงาม ก็จะยึดติด ทำให้ลุ่มหลงงมงาย จิตไม่ได้รับการพัฒนา -เวลาที่ถอดจิตนั้น ร่างกายจะว่างเปล่า (แต่ยังคงทำงานอยู่) เพราะฉะนั้นพลังงานอื่นก็สามารถเข้ามาครอบครองร่างกายที่ว่างเปล่านั้นได้ เมื่อจิตที่ถอดออกไปแล้วจะเข้ามา ก็เข้ามาไม่ได้ เพราะร่างกายมีจิตคนอื่นครอบครองอยู่แล้ว การไล่ออกเป็นเรื่องยาก -ร่างที่จิตได้ถูกถอดออกไปแล้ว จะต้องคงอยู่ในลักษณะเดิม ไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนอริยาบถได้แม้แต่เสี้ยวขององศา มิฉะนั้นจิตจะไม่สามารถเข้าได้ เพราะออกไปอย่างไร ก็ต้องเข้ามาในลักษณะนั้น อย่างเดิมๆ -ถ้าไปพบเห็นสิ่งที่ไม่ดี เช่น ไปพบคนรักของตัวเองมีคนอื่นอยู่ หรือไปพบภาพที่ทำให้ไม่สบายใจ (เพราะปรกติไม่เคยเจอภาพแบบนี้) ก็จะทำให้จิตใจห่อเหี่ยว หรือเสียใจ หรือคิดมาก บางรายอาจเป็นบ้าไปเลย -ในขณะที่จิตออกไปนั้น จิตจะมีค่าเท่ากับพลังงานอย่างหนึ่ง ถ้าไปเจอพลังงานที่มีอำนาจมากกว่า ก็จะถูกดูดหรือควบคุมได้ โอกาสที่จะกลับเข้าร่างได้นั้น....มีน้อยมาก -ยังมีอีกหลายข้อ แต่เหนื่อยแล้ว ว่างๆค่อยมาบอกใหม่ 6.ก่อนที่จะทำการฝึกถอดจิตนั้น ตั้งคำถามถามตัวเองก่อนว่า "อยากถอดจิตถอดกายทิพย์" ไปเพื่อประโยชน์อะไร ? ถ้ายังหาคำตอบไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งฝึกเลย เพราะไม่ชำนาญจริง...มีอันตรายมากกว่า...จริงๆ
"ผมมีความรู้สึกเสียว(คล้ายมีอะไรบางอย่างกำลังหมุนเข้าไป) บริเวณกลางหน้าผาก เหนือหว่างคิ้วเล็กน้อย เกิดขึ้นเองเมื่อ ๓ ปีที่แล้ว บางครั้งเสียวมากจนต้องเอามือแตะให้หายไป (ก่อนหน้าผมเป็นคนมีลางสังหรณืดี รู้อนาคตใกล้ ๆ หรือปัจจุบันที่มองไม่เห็นค่อนข้างแม่นยำมาก ๙๙เปอร์เซ็นต์ทีเดียว เป็นมา เกือบ ๘ ปี แต่แปลไม่ค่อยออกเอง)" ...ทางสหจะโยคะ จะเรียกว่า อตีตังสังญาณ ปรจิตวิทยา อนาตังสังคญาณ จุดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างคิ้ว เมื่อเพ่งจิตที่ละเอียด มั่งคงเข้าไป จะเข้าไปรวมเป็นเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเอกภพ หรือที่เรียกว่า อาตมัน ในทางพุทธศาสนาจะอยู่ในระดับ ณานที่ 4 จตุตถณาน จุดนั้นจะคมชัดสมบูรณ์แบบและแปลออก100% จะเป็นสภาวะที่สมบูรณ์แบบเนื่องจากจิตและเจตสิก มี อุเบกขาและเอกคตาจิตและเจตสิกที่เป็นองค์ประกอบของ ณานที่ 4 เป็นอารมณ์ แต่ถ้าณานที่ต่ำกว่า เช่น ณานที่ 1 ณ.จุดนั้น จิตและเจตสิกจะมีองค์ประกอบ 16 ดวง ได้แก่ วิตกวิจาร(1) ปีติ(2) สุข(3) อุกเบกขา(4) เอกคตาจิต(5) .....มนสิการ(16) (ที่เหลือผมจำไม่ค่อยจะได้นะครับ) มันจะไม่ชัดเพราะยังมีเจตสิก วิตกวิจาร ปีตี สุข ที่ยังไม่ดับ ไม่สามารถยกจักระเจตนาได้ เนื่องจากเจตสิกยังไม่ดับไปตามธรรมชาติ หากจะกล่าวถึง สหจะโยคะ, เต๋า(หยิน-หยาง), พลังจักรวาล คือสิ่งเดียวกันจุดสูงสุดของสิ่งเหล่านี้คือ ณานที่ 4 ของทางพุทธศาสนา กล่าวคือยังไม่หลุดพ้นจากทุกข์ จิตยังติดอยู่ในสมมุติของภูมิทั้ง 3 ข้องเกี่ยวกับ รูปภูมิ ซึ่งจะวนเวียนของเจตสิก(องค์ประกอบของจิต)เป็นวงกลม อย่างนี้นะครับ ---> กามภูมิ ---> รูปภูมิ(ณาน1-ณาน4) ----> อรูปภูมิ(อรูปภูมิ) --> |________________________________________________l สหจะโยคะ,เต๋าหรือการเดินพลังของจีนหรือปราณ จากจุดลบ(กุณฑาลิณี,จุดปลายไขกระดูกสันหลัง,หยิน) จนมาถึงจุดบวก(สหัสสราล,หยาง,จุดกึ่งกลางบนกระหม่อม) ผู้นั้นก็จะบรรลุถึงจุดสูงสุดเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเอกภพพลังจิตบุคคลนั้นก็จะบรรลุ อตีตังสังญาณ ปรจิตวิทยา อนาตังสังคญาณ จะเกิดมาสมบูรณ์แบบแต่ก็ยังข้องเกี่ยวอยู่ในรูปภูมิ ณ.จุด ณานที่4 จตุตถณานไม่พ้นทุกข์ไปได้ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็เพียงนัยยะว่า ในสมัยโบราณ ณ.ที่ต่างๆในโลก ก่อนหน้าพุทธกาลจนมาถึง ณ.ปัจจุบันนี้ มีการค้นหา แสวงหาทางจิตวิญญาณได้ถึงขั้นสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ ยังติดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมิไม่อาจจะหลุดพ้นทุกข์ได้ แต่พุทธศาสนาเรา สิ่งที่พระพุทธองค์ค้นพบคือสิ่งที่พ้นไปจากสมมุติของ 3 ภูมินั้น สามารถปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ได้จริงน่ะครับ "อ่านหนังสือของคุณ แสง อรุณกุศล, ท่านปยุตฺโต, ของธรรมสภา และของท่านอื่นๆ เริ่มหัดนั่งสมาธิ จนสามารถเรียกความรู้สึกเสียวดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้ทันทีทุกขณะตลอดเวลา เพื่อใช้ในการทำสมาธิเอาไว้เพ่ง แต่ทำให้หายไปไม่ได้ดังใจ " หนังสือของคุณ แสง อรุณกุศล จะเป็นการฝึกถอดจิต โดยเพ่งไปที่จุดกึ่งกลางระหว่างคิ้ว แล้วจะมารู้สึกที่จุดท้ายทอยจะรู้สึกตึงเสียวเป็นเส้นระหว่างจุดทั้ง2 ลักษณะคล้ายโก่งคันศรธนู เพื่อให้จิตเด้งหลุดออกไปตรงระหว่างคิ้ว .... ตรงนี้อันตรายมากนะครับ!! ถ้าผู้ฝึกไม่มีจริตหรือเคยคุ้นเคยกันกับการทำลักษณะแบบนี้มาก่อน ขอให้พิจารณาตรงนี้ให้ดีนะครับ มันเป็นความสามารถและจริตอุปนิสัยส่วนตัวของผู้เขียนเล่มนั้นที่ถนัดในทางด้านนี้ สุดท้าย ... ผมคาดว่าคุณ rattanaPY มีสมาธิจิตที่ละเอียด ประณีต และมั่นคงคนนึงนะครับ และคงคุ้นเคยถูกจริตกับการกำหนดจิตที่ตรงระหว่างคิ้วมาก่อน ตรงนั้นมันจะทำให้เข้าสมาธิจิตได้เร็วกว่าปกติ การเจริญสติปัฏฐาน4ให้ยิ่งๆขึ้นผมคิดว่าดีนะครับ หรือน่าจะทำร่วมกันกับอานาปานสติสมาธิ สลับมารู้สึกลมหายใจที่จมูก สลับมามีสติอยู่กับลมหายใจอานาปานสติน่าจะดีนะครับ เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป อานาปานสติจะมีอยู่ 2 ช่วงที่จุดโดดเด่น ก. มีสติระลึกรู้ที่ลมหายใจ ช่วงนี้รูป(กายสังขาร-ลมหายใจ)จะปรากฏโดดเด่นกว่านาม(เจตสิก หรือเวทนา จิต ธรรม) ณ. จุดเริ่มต้นถึง ณานที่ 1 ข. มีสติระลึกรู้อาการเจตสิก(อาการองค์ประกอบของจิต) ช่วงนี้นาม(เจตสิก) คือ เวทนา จิต ธรรม จะปรากฏโดดเด่นชัดเจนกว่ารูป(กายสังขาร-ลมหายใจ) ณ. จุด ณานที่ 2-ณานที่ 4 ...หรือการเจริญสติก็ให้เป็นปัจจุบันขณะเสมอ เท่ากับเวลาโลกเป็นธรรมชาติ ก็จะดีนะครับ แต่ถ้ามีเจตจำนงค์ให้ช้าลง หรือ เร็วกว่าปกติ ก็จะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับอากัปกริยาของตัวเราเอง อันนี้จะไม่ถูกนะครับ ถ้ากล่าวถึงตรงนี้คงจะยาวไปอีก สุดท้ายนี้ขอแสดงความยินดีอนุโมทนากับการบรรพชาของคุณ rattanaPY ด้วยนะครับ แม้ว่าน้อยเดือนก็ได้สามารถกล่าวได้ว่าได้ช่วยกันสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวกันตามกำลังสมควร เมื่อน้อมใจไปนึกถึงตอนที่บวชเป็นพระใหม่ในโบสถ์ ณ.เวลานั้นก็จะทำให้มีจิตที่เป็นสมาธิเร็วเป็นกำลังใจได้ดีนะครับ ถ้าเป็นไปได้คุณลองหาหนังสือ วิมุตติธรรม ของท่าน ปิยทัสสี ภิกขุ สำนักพิมพ์ ธรรมสภา อ่านศึกษาดูนะครับ ที่เกิดขึ้นที่คุณเล่ามาทั้งหมดจะอยู่ในนั้นด้วย จะหายสงสัย ผู้ปฏิบัติหลายท่านมาถึงจุดใด จุดหนึ่ง ก็จะเจอผ่านสิ่งเหล่านั้นไปเหมือนคุณนะครับ ไม่มากก็น้อย ขอเจริญในธรรมนะครับ
จากเว็บ http://www.konmeungbua.com/webboard/aspboard_Question.asp?GID=30 ..... เข้าเรื่อง "สำหรับผู้ที่มีอาการเสียวที่หน้าผาก ,หว่างคิ้วบ้าง หรือ ที่ด้านบนหัว " ผู้ปฏิบัติที่มีอาการดังต่อไปนี้ระหว่างการปฏิบัติสมาธิ 1.มีการอาการเสียวที่หน้าผาก 2.มีการอาการเสียวระหว่างคิ้ว 3.มีการอาการเสียวกลางศีรษะ 4.และอาการใดๆก็ตามที่มีผลต่อประสาท ต่อความรู้สึกโดยตรง ***หากผู้ปฏิบัติสมาธิ เอาจิตไปจับที่จุดนั้นอาการจะยิ่งที่มากขึ้นมากขึ้น*** อาการนี้สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่หลักๆที่ผู้ปฏิบัติสมาธิมีความจำเป็นต้องใช้ มี 2 ที่ คือ 1. การอาการเสียวระหว่างคิ้ว 2. การเพ่งจุดตรงด้านบนลูกกระเดือก ส่วนอาการอื่นอย่างไปสนใจดีที่สุด(ผมเห็นว่าไม่สำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติสมาธิ เลยไม่พิมพ์ครับ) เนื่องจากมีผู้มีอาการแบบนี้เป็นจำนวนมากทำให้เกิดการปฏิบัติถูกบ้างผิดบ้าง ทำให้การปฏิบัติไปกันคนละทาง และผู้ปฏิบัติส่วนมากก็ไม่ทราบว่าที่ตนปฏิบัติไปนั้น ถูกหรือผิดประการใด จึงมีผู้ปฏิบัติหลายคนที่เอาจิตไปจับที่จุดนั้นเพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ยิ่งมีอาการมากๆขึ้นยิ่งเข้าใจว่าตัวเองนั้นทำถูกต้องแล้ว แต่ผลที่ได้กลับเป็นในทางกลับกับคือ ผิด หลักการปฏิบัติสมาธิที่พระพุทธเจ้าท่านสอนครับ (สังเกตสมาธิ 40 แบบ ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไม่มีแบบใดที่ เพ่งจุดที่ร่างกายเลย) แล้วอาการแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการแบบนี้เกิดจากผู้ปฏิบัติสมาธิ เคยปฏิบัติสมาธิมาก่อนเมื่อชาติที่แล้วมีอาจารย์ที่ฝึกสมาธิเป็นผู้แนะนำดี โดยให้ผู้ปฏิบัติโดยการเอาจิตเพ่งไปที่ระหว่างคิ้วบ้าง , เอาจิตเพ่งไปที่กลางศรีษะบ้าง การที่เอาจิตเพ่งไปตามจุดต่างๆ ในร่างกาย เพื่อจะมีผลกับประสาทความรู้สึกของผู้ปฏิบัติบางอย่าง ซึ่งแต่ละจุดที่เพ่งไปนั้นจะไปบังคับประสาทแต่ละส่วนที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ผลของการเพ่งแต่ละจุดในร่างการแตกต่างกันออกไปด้วย จากความเคยชินของจิตในชาติก่อนที่คุณเคยฝึกทำให้เวลาปฏิบัติสมาธิ พอจิตเป็นสมาธิขึ้นมาความรู้สึกมีอาการเสียวที่หน้าผาก ,หว่างคิ้วบ้าง หรือ ที่ด้านบนหัว พอเกิดอาการขึ้นหลายคนไม่ทราบ เลยเอาจุดที่เกิดความเสียวนั้นเพ่งเป็นสมาธิอีกซึ่งเป็นสิ่งที่ ผิด การเพ่งจุดระหว่างคิ้ว ทำให้เกิดอาการเสียวระหว่างคิ้วเป็นการกระตุ้นประสาททำให้หายง่วง เพราะความง่วงถือเป็นนิวรณ์อย่างหนึ่ง ถ้ามีความง่วงอยู่จะไม่สามารถเข้าณานได้เลยครับ ถ้าเข้าณานได้ความง่วงหายเลย การเพ่งจุดตรงด้านบนลูกกระเดือก ผู้ที่ทรงณานอยู่จะไม่เกิดความง่วงหายเลย ผู้ที่ทรงณานเวลาจะนอนก็ต้อง เพ่งจุดตรงด้านบนลูกกระเดือก จะไม่ทันเสียวครับ หลับก่อน ( เวลาผมนอนบ้างครั้งก็ใช้ เพ่งจุดตรงด้านบนลูกกระเดือก หรือ อรูปณานครับ หลับเลย ) ยังมีการเพ่งจุดอื่นๆในร่างกายอีกแต่ผมเห็นว่ายังไม่เหมาะที่จะบอกตอนนี้ ครับผมเองก็ใช้ 2 อย่างที่บอกเป็นหลักครับ คนที่ปฏิบัติผิดทำอย่างไร ตัวอย่าง มีคนที่เพ่งจุดระหว่างคิ้ว มีผลทำให้ไปกระตุกเส้นประสาทในร่างกายโดยผ่านทางท้ายทอย บางคนเพ่นจนถึงฌานที่ 4 แล้วตนเองก็หมดความรู้สึกไป ( เพราะฌานที่4 ความรู้สึกที่ร่างกายหมดจะไป) และมีผู้ปฏิบัติบางคน สามารถออกจากร่างได้เลยเมื่อถึงฌานที่4 ( ออกได้เพราะเกิดจากชาติก่อนที่เคยออกจากร่างได้ ถ้าใครที่พึ่งเริ่มแล้วทำแบบนี้เมื่อถึงฌาน4 แล้วก็ยังไม่สามารถออกจากร่างได้ครับ) การปฏิบัติแบบนี้เป็นการ เอาจิตไปบังคับประสาทจนจิตสามารถเข้าถึงฌานที่4 ได้ ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ "ผิด" มีหนังสือที่สอนให้ถอดจิตแบบนั้นคือ เพ่งระหว่างคิ้วนี้ชื่อ " สมาธิ ถอดจิต แนวทางสมเด็จโต โดย แสง อรุณ.... " (สังเกตสมาธิ 40 แบบ ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไม่มีแบบใดที่ เพ่งจุดที่ร่างกายเลย) การออกจากร่างตัวเองนั้นสามารถออกไป 3 แบบคือ 1.. มโนมยิทธิแบบครึ่งกำลัง 2. มโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง 3. ออกแบบอภิญญา อาการทั้งหมดที่ผมพิมพ์มานี้ อาจเกิดกับคนๆเดียวก็ได้ และอาการที่เกิดระหว่างอาการ ปฏิบัติ จะมีมากกว่านี้อีกขึ้นอยู่กับว่าใครจะเจอเท่านั้นเอง และหากเป็นอาการนอกเนื่องจากที่ผมพิมพ์ อย่าไปสนใจดีที่สุดครับ มีหลายอย่างที่ไม่ได้พิมพ์บอก
พระพุทธองค์ทรงสอนให้ดูที่จิตอย่ารับรู้อารมณ์ทั้งหลายอย่าสอดสายจิตไปทั่วเจริญสมาธิจิตให้ละสิ้นทุกสิ่งที่เป็น โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหลาย พระพุทธองค์ไม่ทรงสอนให้ถอดจิตออกไปดูโน้นดูนี่ เพราะมันไม่เป็นทางไปสู่พระนิพพาน ฉะนั้นในกรรมฐาน ๔๐ กองจึงไม่ได้ทรงสอนให้ถอดจิตแต่ให้ดูจิต
........................... ไม่ถอดจิตแล้วจะดูกายไม่ได้รึ หากถอดจิตไปแล้วจะดูจิตในจิตได้อย่างไรในเมื่อจิตถูกถอดไปแล้ว
คุณ ผู้เยี่ยมชม จาก โลกมืด ถามได้ดีมากครับ (ขออนุญาติแปลชื่อนะครับ เหอะๆๆๆๆๆ) ไม่ถอดจิต แล้ว ดูกายไม่ได้เหรอ ดูกายเฉยๆ ตามเนื้อดูไม่ได้รึไง ถ้าถอดจิตแล้ว จะดูจิตในจิตได้ยังไง ที่ผมคิดนะ คือ คำว่าดูกายในกาย คงหมายถึง ดูกายภายใน หรืออาทิสมานกาย (กายที่ซ้อนอยู่ในกาย) คำว่าดูจิตในจิต คงหมายถึง ดูดวงจิตของเรา ว่าแจ่มใสเพียงไร // ขออนุญาติแก้ไขเพิ่มเติม // พิจารณากายภายใน กายภายนอก คือ กายเรามันดีหรือไม่ กายคนอื่นมันดีหรือไม่ // พิจารณาจิตภายใน จิตภายนอก คือ จิตเรามันดีหรือไม่ จิตคนอื่นมันดีหรือไม่ // การพิจารณากาย หรือ จิต อาจไม่ต้องใช้ทิพจักขุญาณก็ได้ แต่พิจารณาอะไรก็ตามต้องควบสมาธิด้วย ไม่งั้นฟุ้งซ่านจะไม่เกิดความรู้ที่ถูกต้อง ถอดจิตได้ก็คงดีนะครับ เพราะถอดมาแล้ว เห็นกายเนื้อเราอยู่ข้างหน้า ก็ดูกายตัวเองได้แจ่มใส ดูข้างในกายก็ได้ เพราะความเป็นทิพย์ จะดูซิหัวใจมันเต้นยังไง เลือดมันไหลไปไหนมาไหน สิ่งสกปรกในร่างกายเรามันมีมากเพียงใด ด้วยความเป็นทิพย์ ก็พิจารณาดูอาทิสมานกาย หรือดูกายทิพย์ ดูซิว่ามันหยาบ มันหนัก หรือมันเบา มันใสหรือมันทึบ มันสว่างหรือมันมืด ฯ เมื่อถอดจิตแล้วจะดูจิต จิตในจิต คงเป็นการดูจิตในกายทิพย์ละมั้ง ว่าวันนี้ดวงจิตเราใสสะอาดเพียงใด จะต้องชำระอย่างไร จิตเรากลั้วไปด้วยราคะ โทสะ โมหะ เหรือไม่ จิตสว่างไม่สว่าง ฯ ถอดจิตได้ก็ดีไป 108 อย่าง ถามว่าไม่ถอดได้มั้ย ตอบว่าได้ครับ แค่อุปาจารสมาธิ ก็สามารถพิจารณาธรรมได้ครับ สุกขวิปัสโก ๑, เตวิชโช ๑, ฉฬภิญโญ ๑, ปฏิสัมภิทปัตโต ๑ // เลือกเอานะครับ ไม่ต้องความสามารถพิเศษเลยก็ สุขวิปัสโก สามารถตัดกิเลสได้เช่นกัน , มีตาทิพย์ก็เตวิชโช, ถอดจิตได้ก็ฉฬภิญโญ, ทำได้ทุกอย่างพร้อมมีความสามารถทางสาธยายธรรมด้วยก็ ปฏิสัมภิทปัตโต สวัสดี
... ... .... ถอดจิต ออกจากกาย ยังไม่น่าสรรญเสริญ เท่ากับ ถอดอาสวะกิเลสจากขันธสันดานตน... ของอย่างนี้มันยังธรรมดา ไม่ได้พิเศษอะไรมากมาย คนที่ไม่ได้เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ ก็ทำกันได้... พึงระลึกเสมอว่า...เราปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร
ขอแชร์ประสบการณ์ ผมถอดได้หลายครั้ง แต่ไม่ได้ตั้งใจทุกครั้ง ครั้งแรกตอนเด็กเด็ก น่าจะระมาณป.3 นอนร้องไห้อยู่ แล้วตอนจะหลับ วิญญานหลุดออกมาเฉยเลย ตอนนั้นถึงจะเด็กแต่ก็รู้สึกว่า ซวยแล้วกรู พยายามเข้ายังไงก็เข้าไม่ได้ เข้าทางเข้าทางหัว ทางข้าง หลายแบบแต่ก็เข้าไม่ได้ เลยเรียกแม่ แต่ท่านไม่ได้ยิน จับลูกบิดจะวิ่งลงไปหาแม่ก็ไม่ได้ ไม่รู้จะทำยังไง เลยนั่งร้องให้ มีคนแก่คนนึงมาพาเข้าร่าง ครั้งต่อมาผมอายุ18-19 นี่แหละ ไปทำงานจังหวัดละ3-4วัน แล้วก็พักโรงแรม เพื่อนร่วมงานผมจะไเที่ยวกัน แต่ผมจะนั่งสมาธิ ครั้งแรกวิญญานหลุด แต่ไม่นาน ครั้งต่อมาประมาณสองชั่วโมง แล้วเพื่อนร่วมงานกลับมาที่ห้อง ผมพยามเรียก แต่เค้าเห็นผมที่นั่งอยู่และวิญญานผมด้วยที่ยืนข้างข้างเค้า เค้าร้องลันเลย หลังจากนั้น ไม่ค่อยมีใครกล้านอนกับผมเท่าไหร่ และเจ้านายผมก็ห้ามไม่ไห้นั่งอีก แต่ผมไม่ได้ตั้งใจถอดเท่าไหร่ เพราะมันน่าเบื่อ ผมไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะกลับเข้าร่างได้ เปิดหนังสือหรือทีวีก็ไม่ได้ จะออกไปนอกห้องก็กลัว ม่รู้จะเจอกับอะไรบ้าง แต่ก็เป็นประสฐการณ์ที่แปลกดีครับ
+++ กระทู้นี้เป็น กระทู้ที่เก่ามาก ตั้งแต่ปี 2005 เพียงแต่คุณ Nanthawat เข้ามา "แชร์ประสบการณ์" +++ และ ติดปัญหา บางประการอยู่ ผมจึง "บอกวิธี แก้ปัญหา" ให้เฉพาะกับคุณ Nanthawat นะ +++ เข้าไม่ได้ "เพราะมัวแต่คิด ว่า จะเข้าอย่างไร" สาเหตุอยู่ที่ "คิด+วุ่นวาย" +++ ให้ "1. ดูที่ร่าง 2. ซูมเข้าหา 3. ผสานความรู้สึกกับร่าง" ก็จะ พ้นจากปัญหาตรงนี้ได้ +++ ผู้ที่ ถอด" กาย/จิต" แล้วมีความ "เป็น/อยู่" โดยไม่มี กายเนื้อ ได้ ย่อมรู้ว่า "ความตายที่แท้จริง ไม่มี" +++ มีแต่ "จิต/ชีวิต ที่พรากออกจาก ร่าง" ให้ค้นคว้าเอาในเรื่อง "พรากกายมนุษย์จากชีวิต" เอานะ +++ ตรงนี้ สำหรับคุณ Nanthawat คงทราบชัดอยู่แล้วว่า สิ่งที่เรียกว่า "ชีวิต (ความเป็นตน)" นั้น ไม่ใช่ "กายมนุษย์" +++ ชีวิต (ตน) เป็นเรื่องหนึ่ง ส่วน กาย เป็นอีกเรื่องหนึ่ง +++ ความเป็นตน (ชีวิต) ที่ไร้กาย คุณ Nanthawat ผ่านประสพการณ์ตรงนี้ มาแล้ว ย่อมอ่านได้ "รู้เรื่อง" เป็นธรรมดา +++ สิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในพระไตรปิฏกที่ "พระพุทธองค์" เคยทรง กล่าวถึงอาการหนึ่ง ไว้ว่า "ยามตกตาย ย่อม ไร้สติ" +++ ให้คุณ Nanthawat ลองไปค้น ๆ สาเหตุของ อาการนี้ ที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้เอานะ +++ และอาการที่ "ยามตกตาย ย่อม ไร้สติ" นั้น พระพุทธองค์ ทรงระบุไว้ว่า "ย่อมไปอบาย" ตรงนี้ +++ หากคุณ Nanthawat สามารถ "ถอด กาย/จิต" ได้อย่างมี "สติแจ่มใส" จนได้นิสัย ก็จะ "พ้น" จากตรงนี้ได้ +++ จากนั้นก็ พยายามหาทางให้ "พ้นจากความเป็น ตน/ชีวิต ในอีกระดับหนึ่ง" ก็จะก้าวหน้าขึ้นไปได้เรื่อย ๆ นะครับ
พอดีผมใช้เว็บนี้ไม่ค่อยเป็นพึ่งทราบว่ากะทู้นานแล้ว แหะแหะ การเข้าร่างนี่มีประโยชน์มากครับ และตรงอย่างที่คุณว่าจริงจริง เพราะผมนึกดีดีแล้ว ตอนที่ผมหุลุดออกมาตอนอายุเกือบ20 ผมนั่งมองตัวเอง คิดว่าคงต้องให้ใครมาทำให้ร่างผมตกใจหรือว่ามีใครเปิดประตู ถึงจะแวบเข้าร่างได้ มันจะรู้สึกอีกทีแบบลืมตาเลย แต่ตอนนั้นผมนั่งมองหน้าตัวเอง แอบคิดว่าทำไมมันไม่เหมือนตอนมองกระจกเลย มองไปพิรจารณาไป มันเข้าได้ครับ ไม่ต้องรอให้ร่างตกใจ แต่บางครั้งถ้าผมกังวลหรือนึกสถานที่แห่งใหนมาก ผมก็จะไปโผล่ที่ที่ผมคิดถึงก่อนนอนเหมือนกันครับ เช่นเพื่อนผมบอกว่าของสำคัญที่อยู่ในบ้านเขาหายไป คุยกันเรื่องนี้อยู่นาน พอกลางคืนกลายเป็นว่า ผมไปเดินอยู่ในบ้านเพื่อนคนนั้น เห็นเพื่อนหลับอยู่ วันต่อมาผมถามว่าในห้องเค้าเป็นแบบนี้ใช่ใหม ปรากฎว่าตรงหมดเลย บางทีมันก็เป็นปัญหาเหมือนกันครับ เพราะตอนเด็กเด็กนี่ผมไปที่อื่นเป็นวันวันเลย แต่เวลามันไม่เท่ากัน ไปนาน แต่พอมาถึงร่างปรากดว่า แปปเดียวเอง บางทีก็หลุดไปเจออะไรน่ากลัวเยอะมาก (ดีดีไม่ค่อยเจอ) ซึ่งผมแค่อยากบริกรรมสมถะภาวนาให้ดีขึ้นแค่นั้นเองครับ ขอบคุณมากครับ
+++ กลุ่มที่ผมฝึกให้ ก็ใช้วิธีที่ผมบอกคุณไปนั่นแหละ หลังจากที่ชำนาญแล้ว ก็ไม่ต้องใช้พิธีรีตรองอะไร "เข้า/ออก" ได้ดั่งใจปรารถนา +++ หากคุณ "รู้จัก ความเป็น ตน" คุณก็สามารถ "ใช้ความเป็น ตน" ไปโผล่ได้ทันที "โดย ไม่ต้อง รอตอนนอน" อะไรเลย +++ ตอนที่คุณ "นอน" ความเป็น "ตน ของคุณ" มันไปเดินในบ้านนั้น แต่ถ้า "คุณใช้งาน ความเป็นตนได้" ก็จะใช้ได้ทันที ไม่ต้องรอตอน "นอน" นะ +++ ผลลัพธ์ จะออกมาเป็นแบบเดียวกัน "ทุกประการ" เพียงแต่ ไม่ต้อง "รอ" อะไรทั้งนั้น มันเป็น "อกาลิโก (ไม่จำกัดกาลเวลา)" ถ้า "รู้วิธีทำ" หนะ +++ ถูกแล้ว "กาล/เวลา" มันจะต่างกันไปตาม "มิติ/ความละเอียดของภูมิ/ความละเอียดของกาย ฯลฯ" ต่าง ๆ +++ สิ่งที่ "เห็นแล้วน่ากลัว แต่ไม่สมควรกลัว มีอยู่" และสิ่งที่ "เห็นแล้วไม่น่ากลัว แต่สมควรกลัว ก็มีอยู่ เช่นกัน" +++ สิ่งที่ "เห็นแล้วน่ากลัว แต่พูดกันรู้เรื่อง มีอยู่" และสิ่งที่ "เห็นแล้วไม่น่ากลัว แต่พูดกันไม่รู้เรื่อง ก็มีอยู่ เช่นกัน" +++ สิ่งที่ "เห็น รูป/กาย แล้วน่ากลัว แต่พอพูดกันออกมา กลับกลายเป็นฝ่ายธรรมะ มีอยู่" +++ สิ่งที่ "เห็น รูป/กาย แล้วไม่น่ากลัว แต่พูดกันออกมา ดันกลายเป็นฝ่าย อธรรม ก็มีอยู่ เช่นกัน" +++ เวลาที่ต้อง "เจอกับ จิต/ชีวิต ต่างมิติ/ชั้นภูมิ" อย่าตัดสินที่ "รูปกาย" แต่ให้ "รู้ ที่เจตนาของ ธัมมารมณ์" เป็นหลัก แล้วจะรู้ได้เอง +++ สมถะ = จิตปิด ส่วน วิปัสสนา = จิตเปิด +++ ความเป็น "สมาธิ = ความตั้งมั่นแห่งจิต" เป็นอันเดียวกัน ทุกประการ +++ ข้อแตกต่าง มีเพียงแค่ "จิตปิด หรือ จิตเปิด" เท่านั้นแหละ นะครับ