พระพุทธชินราชไคลเสมาหลวงปู่อินทร์วัดโบสถ์ ๒๔๙๗ ระฆังทองพันชาติลพ.อั๊บท้องไทร

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,180
    ค่าพลัง:
    +21,388
    วันนี้จัดส่ง
    1747394225038.jpg
    ขอบคุณครับ
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,180
    ค่าพลัง:
    +21,388
    วันนี้จัดส่ง
    1747486590279.jpg
    ขอบคุณครับ
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,180
    ค่าพลัง:
    +21,388
    FB_IMG_1747565578959.jpg

    สมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ฐานผ้าทิพย์ ท่านพระครูสาทรพัฒนกิจ(หลวงพ่อลมูล ขนฺติพโล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธาน ฝังตะกรุด ๕ ดอกใต้ฐาน ที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์พัดยศ ปี๒๕๑๐
    หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ผู้สำเร็จวิชาลบผงวิเศษ ๑๒ นักษัตร
    ท่านเป็นพระเกจิเชื้อสายรามัญแห่งจังหวัดปทุมธานี สุดยอดพระเกจิผู้มีพุทธคมเข้มขลัง เป็นผู้ที่มีจิตสมาธินิ่งมาก สามารถเขียนผงทะลุกระดานชนวนได้เพียงอึดใจ
    ในการสร้างพระสมเด็จฯ นอกจากวิชาลบผงวิเศษทั้ง ๕ ประการแล้ว ท่านยังใช้วิชาลบผง ๑๒ นักษัตร อันเป็นวิชาของชาวมอญที่ตกทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีพระเกจิอาจารย์รูปใดในยุคก่อนๆ ที่วงการรู้จักมีการทำผงชนิดนี้ นี่จึงเป็นของวิเศษอันสุดยอดของหลวงปู่เทียนที่พระเกจิอาจารย์รูปอื่นๆ ไม่มี
    ผง ๑๒ นักษัตร เป็นเรื่องเกี่ยวพันกับโหราศาสตร์ที่อธิบายได้ว่า มนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ต้องเกิดมาในปีนักษัตรใดนักษัตรหนึ่ง และในปีหนึ่งๆ นั้นประกอบไปด้วย ๑๒ ราศี ที่มีความเกี่ยวพันกับดวงดาว อันเป็นตัวกำหนดเส้นทางชีวิตของคนคนนั้น ที่เรียกว่า “ดวงชะตา”
    หลวงปู่เทียน ท่านศึกษาค้นคว้าวิชานี้จากตำราโบราณที่อาจารย์มอบให้จนสำเร็จด้วยตัวเอง วัตถุมงคลของท่านทุกองค์จะมีผง ๑๒ นักษัตรผสมอยู่ด้วย จึงมีอานุภาพในการหนุนส่งดวงชะตาในช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์และปกป้องไม่ให้ตกต่ำในยามที่ดวงไม่ดี
    ผงนี้กระบวนการทำนั่นยากมาก เป็นผงที่ลบจากยันต์ ๑๒ นักษัตร จึงเข้าได้กับผู้อาราธนาทุกปีเกิด มีศิษย์ที่ไปขอเรียนวิชานี้กับหลวงปู่จำนวนมาก แต่สามารถเรียนได้สำเร็จแค่ ๒ รูป คือ
    หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ
    หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ
    คำว่า เนื้อ 12 นักษัตร นั้นหลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ท่านเล่าว่า ผง 12 นักษัตรเป็นผงที่สร้างยากต้องมีความมานะพยายามอย่างสูงกว่าจะรวบรวมวัตถุมงคลให้ครบตามตำราก็ยากเย็นแสนเข็ญแล้ว เช่น
    - กระดูกม้าขาว
    - กระดูกไก่ดำ ซึ่งกระดูกออกเป็นสีชมพู
    - กระดูกนิ้วก้อยซ้ายขวาของผีตายวันเสาร์เผาวันอังคาร มาบดผสม
    เมื่อได้กระดูกสัตว์ทั้ง 12 ชนิด และวัสดุมลคลอื่นครบถ้วนตามตำราแล้ว ต้องบดผงเข้าด้วยกันแล้วปั้นเป็นแท่งดินสอเตรียมไว้ เมื่อเข้าพรรษาก็ให้เริ่มลงอักขระเลขยันต์ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้ายของพรรษา ทำจนครบ 3 พรรษา
    พระครูสาทรพัฒนกิจ (หลวงพ่อลมูล) วัดเสด็จ อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี ศิษย์เอกของหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ พระเกจิดังแห่งเมืองปทุมธานี ท่านเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกในพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก ปี2515 หลวงพ่อลมูล ท่านเป็นยอดพระเกจิที่เก่งมากๆ พลังจิตของท่านดีมาก จนชาวบ้านยกย่องเป็นเทพเจ้าแห่งสวนพริกไทย หลวงพ่อละมูล ท่านเองก็ชอบสร้างพระสมเด็จเช่นกันครับ เหมือนอาจารย์ท่าน คือหลวงปู่เทียน โดยหลวงปู่เทียน นอกจากท่านจะสำเร็จวิชาการทำผงวิเศษ ๕ ประการ คือ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห และ ผงพุทธคุณ แล้ว ท่านยังเป็นพระที่สำเร็จวิชา “ผง ๑๒ นักษัตร์” ซึ่งเป็นผงที่เขียนลบมาจากยันต์ ๑๒ นักษัตร์ ทั้ง ๑๒ ปี ดังนั้น พระเนื้อผงของท่านจึงดีเด่นสูงค่าไปด้วยพระพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม อุดมโชคลาภ มีกินมีใช้ทุกปี ไม่ขัดสน เข้าได้กับทุกผู้คน ทุกปีเกิด สามารถป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดเวลาที่มีพระเครื่องของท่านพกพาอาราธนาติดตัวอยู่ เวลาดวงชะตาตกต่ำ ก็จะค้ำจุนไม่ตกอับจนเกินไป เวลาดวงชะตารุ่งโรจน์ ก็จะเสริมดวงชะตาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น หลวงปู่เทียนท่านได้ถ่ายทอดวิชาผง ๑๒ นักษัตร์นี้ให้แก่ศิษย์ คือ หลวงพ่อลมูล โดยหลวงพ่อลมูลท่านจะทำพิมพ์ให้ต่างจากหลวงปู่เทียน และท่านก็ลบผงพุทธคุณเองด้วยเช่นกัน พระท่านน่าแขวน รุ่นเก่าๆหาก็ไม่ค่อยง่ายเช่นกัน ทางพื้นที่นิยมกันมากครับ จำไว้ว่าตะกรุดที่ฝังจะไม่เรียบร้อยเช่นกัน ม้วนไม่ค่อยกลมนะครับ วัตถุมงคลของท่านนั้นสามารถใช้ป้องกันภัยอันตราย จากสัตว์มีพิษต่างๆ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ที่มีมากมายในสวนสมัยก่อนได้อย่างน่ามห้ศจรรย์ อีกทั้งยังมีพุทธคุณครบเครื่อง ไม่เป็นรองอาจารย์ของท่าน ทั้งคงกระพัน มหาอุด มหานิยม เมตตา โชคลาภ ลูกศิษย์ทั้งหลายล้วนทราบกันดี
    หลวงพ่อลมูล ขันติพโล วัดเสด็จ อ.เมือง จ.ปทุมธานี
    หลวงพ่อลมูล ขันติพโล หรือท่านพระครูสาทรพัฒนกิจ เจ้าอาวาสวัดเสด็จ ตำบลสวนพริกไทย อ.เมือง จ.ปทุมธานี ท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่มหาชนในยุคก่อนและยุคนี้ต่างก็ให้ความเคารพนับถือมากมาย หลวงพ่อลมูลท่านเป็นชาวมอญโดยกำเนิด เดิมชื่อลมูล จับจิตต์ เกิดวันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2458 แรม 5 ค่ำ ปีเถาะ บิดาชื่อ นายติ่ง มารดาชื่อ นางแม้น จับจิต ท่านเกิดที่หมู่ 4 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน ท่านเป็นคนที่ 2 ของครอบครัว เมื่อท่านอายุได้ 3 ขวบ ท่านได้ย้ายตามบิดามารดามาอยู่ในคลองบางใหญ่หมู่ที่ 1 ตำบลสวนพริกไทย อ.เมือง จ.ปทุมธานี เพราะโยมปู่เหลือ และโยมย่าแหวว จับจิตต์ ได้มอบมรดกที่ดินให้กับครอบครัวของท่านไว้ทำกิน ท่านจึงต้องย้ายมาอยู่ด้วย พอท่านอายุได้ 12 ปี โยมพ่อได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับ"พระอาจารย์ไม้" ที่วัดเสด็จ ท่านอยู่ได้ 1 ปี ทำให้ท่านได้ฝึกฝนนิสัยไปในทางอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักที่สูงที่ต่ำ ทั้งสิ่งที่ควรและไม่ควร ต่อมา "ครูชั้น ดำกลิ่น" ได้มาขอตัวท่านจากพระอาจารย์ไม้ไปเป็นศิษย์ โดยให้ไปเรียนหนังสือเพิ่มเติมที่วัดพระเชตุพน คณะ 20 ท่านศึกษาจนอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี โดยสมัยนั้นสมเด็จป๋าสมเด็จพระสังฆราช(ปุ่น ปุ่ณณสิริ) ยังคงเป็นครูสอนภาษาบาลีอยู่ ณ สำนักแห่งนี้ แต่ในการเรียนต่อของท่านในขณะนั้นได้ชะงักลง เพราะเหตุที่โยมพ่อต้องการให้กลับมาช่วยดูแลทำนาเพื่อช่วยครอบครัว ท่านจึงต้องกลับมาทั้งๆที่เสียดายมาก หลังจากที่ท่านกลับมาอยู่บ้าน ท่านก็ได้ช่วยโยมพ่อทำนาพร้อมกับได้เริ่มเรียนหนังสือต่ออีก เพราะอายุท่านนั้นไม่พ้นเกณฑ์ยังอยู่ในภาคบังคับ ต้องเรียนหนังสือต่อ หลวงพ่อลมูลจึงเรียนที่วัดเสด็จซึ่งได้มีการเปิดโรงเรียนประชาบาลภาคบังคับขึ้น ท่านจึงได้เริ่มเรียนหนังสือตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาอีก ท่านเป็นนักเรียนคนที่ 38 ของโรงเรียนนี้ ท่านเรียนจนจบชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในสมัยนั้น หลังจากที่ไม่ได้เรียนแล้ว ท่านก็ได้ช่วยเหลือบิดา มารดาทำนา ตามความประสงค์จนอายุได้ 18 ปี บิดามารดาของท่านได้ขอให้ท่านแต่งงานเปรียบเสมือนโซ่ตรวนผูกมัดไม่ให้บวช อีกประการหนึ่งท่านต้องการศึกษาหาความรู้ใส่ตนให้มากขึ้นกว่านี้ ประกอบกับจิตใจของท่านฝังลึกว่า การบวชนั้นเปรียบเสมือนทางไปสวรรค์ที่จะสามารถบันดาลให้พ้นทุกข์ได้
    ความตั้งใจของหลวงพ่อลมูล ขันติพโล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี สัมฤทธิ์ผล คือโยมบิดา มารดา ไม่อาจขัดได้จึงได้นำท่านไปฝากเป็นนาคกับ พระอธิการเผือก สุกโก ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส วัดเสด็จ ในขณะนั้นหลวงพ่อลมูล ขันติพโล ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2497 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 เวลา 14 นาฬิกา 50 นาที ที่พระอุโบสถวัดเสด็จ โดยมีหลวงปู่เทียนหรือท่านพระครูบาวรธรรมกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการเผือก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ไม้ รุกขโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ขันติพโลภิกขุ"
    หลังจากที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านได้ตั้งใจแน่วแน่ว่า ท่านจะเล่าเรียนพระธรรมวินัยตามระเบียบของวัด คือการเรียนพระปริยัติธรรมและจะตั้งใจปฏิบัติกิจในพระบวรพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดตลอดชั่วชีวิต ในเพศพรหมจรรย์ของท่านจะขอถวายตัวเป็นพุทธบุตรผู้สืบต่อพระพุทธศาสนาไปจนชีวิตจะหาไม่ พรรษาแรกท่านก็ได้เรียนนักธรรมชั้นตรี พรรษาที่ 2 ท่านก็สอบนักธรรมชั้นตรีได้ ในพรรษาที่ 3 ท่านก็สอบนักธรรมชั้นโท แต่สอบตก ท่านจึงอธิษฐานจิตจะไม่ขอเรียนนักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอกอีกต่อไป ท่านจะเปลี่ยนแนวทางมุ่งไปในทางปฏิบัติ เมื่อหลวงพ่อตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้ว ท่านก็ออกเดินธุดงค์ มุ่งหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร แต่ก่อนเดินธุดงค์นั้นท่านได้ขอไปฝึกกรรมฐานเพิ่มเติมจาก หลวงปู่เทียน พระอาจารย์ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน ซึ่งท่านก็ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้เต็มที่ หลังจากได้รับการฝึกฝนในด้านสมาธิอย่างเพียงพอ หลวงปู่เทียน ท่านได้มอบหมายให้หลวงปู่พร้อม เป็นหัวหน้านำในการธุดงค์ในครั้งนั้น ในด้านส่วนลึกของหลวงพ่อลมูล ท่านต้องการออกธุดงค์ไปองค์เดียวแต่ติดขัดในข้อบัญญัติทางพระธรรมวินัยว่าพระที่จะออกธุดงค์ถ้ามีพรรษาไม่ถึง 5 พรรษา ต้องมีพระพี่เลี้ยงนำไป แต่ถ้าเกิน 5 พรรษาไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องมี จุดแรกที่ที่ท่านออกธุดงค์ ก็คือที่วัดพระพุทธบาทสระบุรี เพราะสถานที่นี้เป็นที่อันศักดิ์สิทธิ์ มีความสงบ ร่มรื่นเหมาะในการบำเพ็ญเจริญภาวนา ต่อจากนั้นท่านก็มุ่งสู่ภาคเหนือ แม่สอด ตาก กำแพงเพชร เพราะท่านเห็นว่ามีภูเขามากเป็นแดนที่สงบ ในการเดินทางไปภาคเหนือครั้งนั้นท่านพบกับอุปสรรคอย่างมากมาย จากสัตว์ป่าบ้าง ตลอดจนอาหารที่ฉันท์เพราะไม่ค่อยมีหมู่บ้าน ท่านต้องฉันท์ผลไม้ป่าแทนแทบทุกวัน ฉันท์วันละเพียงมื้อเดียว ส่วนในด้านฝึกหัดปฏิบัติธรรมและจำวัดในตอนกลางคืน หลวงพ่อท่านก็ต้องหาสถานที่ปลอดภัย หลวงพ่อลมูลตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หลังจากการเดินทางเข้าสู่พรรษาที่ 5 พระพี่เลี้ยงต่างก็แยกย้ายกันเดินทางกลับ หลวงพ่อลมูล จึงออกเดินธุดงค์เพียงองค์เดียว เดินทางไปถึงประเทศพม่า ท่านได้ไปพบกับถ้ำประหลาดซึ่งอยู่ในภูเขาลูกเล็กๆ แต่มหัศจรรย์มากเพราะภายในถ้ำมีแต่ขี้ค้างคาว แต่ไม่มีกลิ่นเหม็นเลยสักนิดเดียว และมีค้างคาวเต็มไปหมด แต่ค้าวคาวก็ไม่เคยบินมาถูกท่านเลย การเดินทางเอาตัวรอดในป่าดงดิบก็ด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังต่อเนื่องและเคร่งครัดอำนาจบารมีของพุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณ เป็นอำนาจสูงสุด ผู้ปฏิบัติเคร่งครัดย่อมได้ผล แม้แต่ไปเจอสิงห์สาราสัตว์ที่ดุร้าย เจ้าที่เจ้าทางเจ้าป่าเจ้าเขา ด้วยอานุภาพบารมีดังกล่าวช่วยคุ้มภัยได้เป็นอย่างดี
    หลังจากที่หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ ท่านได้ธุดงค์ได้ระยะหนึ่ง หลวงพ่อท่านก็ได้เดินทางกลับมายังวัดเสด็จ เพื่อมาช่วยเหลือกิจการของสงฆ์ในวัด ซึ่งในขณะนั้น หลวงปู่เผือกผู้ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสมีปัญหาเกี่ยวกับการปกครอง เนื่องจากมีพระภิกษุในวัดเดียวกันจะคิดกำจัด และปลดท่านจากการเป็นเจ้าอาวาส ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า บัญชีของวัดทำไม่ถูกต้อง และหย่อนสมรรถภาพในการปกครอง แต่ในข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเป็นเพราะหลวงปู่เผือกเป็นพระที่มีความละเอียดรอบครอบ กระทำสิ่งใดๆไม่หวังผลประโยชน์มากเกินไป จึงเป็นเหตุให้ฝ่ายตรงข้างเสียผลประโยชน์ พากันกลั่นแกล้งท่าน หลวงปู่เทียนซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านกลางจึงได้เรียกตัวหลวงพ่อลมูลไปปรึกษาและมอบหมายให้ช่วยเหลือหลวงปู่เผือก ในด้านภารกิจต่างๆท่านได้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ตั้งแต่นั้นมาท่านจึงไม่มีโอกาสออกเดินธุดงค์อีกต่อไป เพราะหน้าที่บังคับและหลังจากนั้นท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ.2491 คือหลังจากที่พระอธิการเผือกได้มรณะภาพลงเมื่อปี พ.ศ.2490
    ในด้านผลงานของหลวงพ่อลมูล ท่านได้พัฒนาไม่หยุดหย่อน ตั้งแต่ถนนหนทาง จนถึงบ้านพักและสถานีตำรวจสวนพริกไทย อนามัย และโรงเรียน ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเลื่อมใส ต่างก็ได้ส่งบุตรหลานของตนเข้ามาบวชอยู่กับท่านอย่างมากมาย ทุกคนได้หันหน้าเข้าวัดด้วยการฝึกปฏิบัติธรรมกับท่านมิได้ขาดเพราะชาวบ้านถือกันว่าท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง จากผลงานในด้านปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรม ทำให้ทางคณะสงฆ์มีความเห็นขอแต่งตั้งให้ท่านเป็นพระครูใบฏีกาลมูล เมื่อปี พ.ศ.2495 โดยฐานะนุกรมของท่านเจ้าคุณธรรมกิตติในปีพ.ศ.2500 ท่านได้รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
    ผลงานในด้านปริยัติธรรมหลวงพ่อลมูล ท่านก็ได้ตั้งสำนักเรียนนักธรรมตั้งแต่ชั้นตรี -โท- เอก ขึ้นรวมทั้งสอนแผนกบาลีด้วย ทางด้านปฏิบัตินั้นท่านได้ฝึกอบรมกรรมฐานเป็นประจำ จนมีญาติโยมเข้ามาฝึกกรรมฐานกันมากขึ้นทุกวันเพราะเชื่อกันว่า การฝึกกรรมฐานกับท่านแล้วทำให้เกิดศรัทธาแรงกล้า ส่วนในระยะที่อยู่ในพรรษาแต่ละพรรษาท่านต้องเป็นผู้นำพระใหม่ และเก่าฝึกกรรมฐาน รวมทั้งเป็นผู้นำสวดมนต์เช้าเย็นมิได้ขาดทุกวัน ตลอดจนสั่งสอนอบรมจริยวัตรในขณะที่เป็นสงฆ์และไปเป็นฆราวาส ด้านการพัฒนาวัด หลวงพ่อลมูลได้ทำต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่ท่านเข้าดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จด้วยความสามารถนานาประการของหลวงพ่อลมูล จึงจัดว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งของเมืองไทยที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก หลวงพ่อลมูล ขันติพโล วัดเสด็จ อ.เมือง จ.ปทุมธานี ท่านมรณภาพเมื่อพ.ศ.๒๕๔๘ สิริอายุ ๘๙ ปี

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จปรกโพธิ์ฐานผ้าทิพย์ฝังตะกรุด ๕ ดอก ปี๒๕๑๐ เลี่ยม พลาสติค

    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)


    IMG_20250518_174501.jpg IMG_20250518_174559.jpg IMG_20250518_174629.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2025 at 23:21
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,180
    ค่าพลัง:
    +21,388
    FB_IMG_1747566747117.jpg

    เถาวัลย์หลง
    ความเชื่อ: คนโบราณเกือบทุกภาคนิยมปลูกไว้หน้าบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นว่านเสน่ห์เมตตามหานิยม ทำให้ค้าขายดี โบราณว่า หากเดินป่าแล้วข้ามเถาต้นเถาวัลย์หลง จะทำให้หลงป่า ต้องใช้คาถาเบิกไพรถึงจะกลับออกมาได้ หากนำเถาแห้งพกติดตัว จะเป็นนะจังงังและนะเมตตาอีกด้วย
    พระเกจิอาจารย์ผู้ เรียน รู้ตำรา นิยมนำมาเป็นมวลสารในการสร้างวัตถุมงคล
    ประวัติท่านพระครูวิมุตยาภรณ์ ( หลวงพ่อเกิด ) วัดโพธิ์แทน จ.นครนายก
    พระครูวิมุตยาภรณ์ ท่านมีนามเดิมว่า เกิด ถือกำเนิดเมื่อปี 2463 ที่บ้านราษฎร์สะเด็ด ตำบลบางปลากด ปัจจุบันมาขึ้นกับตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ นครนายก เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีวอก เป็นลูกชายคนที่ 6 ของครอบครัวผู้ใหญ่ปั้น-นางพันธ์ นามสกุล อินทร์ศิริ ในจำนวนพี่น้อง 11 คน ผู้หญิง 6 คน ผู้ชาย 5 คน เนื่องจากในยุคนั้นการศึกษายังไม่เจริญเช่นปัจจุบัน ในวัยเด็กท่านจึงไม่ได้เรียนหนังสือ แม้จะเป็นถึงลูกชายผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นผู้นำหมู่บ้านหรือผู้ชุมชนในขณะนั้น จนกระทั่งอายุ 17 ปี จึงได้ไปเป็นศิษย์วัดเพื่อเรียนหนังสือ โดยได้เรียนหนังสือเป็นหนังสือขอมเป็นหลัก ซึ่งท่านนั้นได้มุ่งมั่นเรียนอักษรสมัยและการริเริ่มอ่าน กะ ขะ คะงะ ฯลฯ และการเขียนเป็นหนังสือขอมนั้นได้แม่น เป็นที่ชื่นชอบของครูบาอาจารย์ผู้สอนยิ่งนัก
    เนื่องจากว่าท่านนั้นเป็นผู้ใฝ่ใจการเรียนรู้ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งในยุคนั้นหาคนที่เรียนรู้แตกฉานในด้านศิลปะภาษานั้นค่อนข้างยาก? ตลอดจนตำราในด้านวิชาการนั้นก็หายากพอๆกับเดินหาเข็มบนผืนทรายใต้ทะเลทีเดียว แม้บ้านโพธิ์แทนจะอยู่ห่างจากเมืองกรุงแค่มือเอื้อม แต่การไปมาในยุค 70-80 ปีก่อน คมนาคมที่ยังต้องพึ่งเรือและช้างม้าวัวควายเป็นหลักนั้นถือว่าเป็นหมู่บ้านที่ไกลปืนเที่ยงเอาการอยู่เหมือนกัน
    การศึกษาในสายพระเวทย์หรือวิชาอาคมต่างๆ นั้น ท่านบอกว่า ท่านได้เรียนรู้วิชาอาคมต่างๆ จาก พระอาจารย์หม่น ที่วัดโพธิ์แทน นั่นเอง ต่อมาท่านพระอาจารย์หม่นได้ลาสิกขาบทออกไป จึงมอบตำราวิชาอาคมต่างให้ท่านไว้ ท่านได้ศึกษาค้นคว้าเอาจากตำราและลองทำตะกรุดตั้งแต่พรรษาที่ 5-6 เรื่อยมาจนปัจจุบัน
    การสร้างวัตถุมงคลประเภทเครื่องรางของขลังอย่างตะกรุดนั้น หลวงพ่อเกิด ว่าท่านได้สร้างมานานแล้วตั้งแต่พรรษาไม่มากนัก แจกจ่ายใช้กันในแวดวงผู้ใกล้ชิดนานปีเข้าการลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ ม้วนเป็นตะกรุดออกไปเป็นจำนวนมากเข้า ผู้คนนำไปใช้เกิดมีประสบการณ์ในทางคงกระพันชาตรีทนมีดอยู่ปืนขึ้นมา เสียงลือเล่าอ้างจากปากสู่หูเล่าต่อๆ กันไปจนเป็นที่ต้องการของญาติโยม แม้สังขารจะเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา เนื่องจากขันธ์สังขารเข้าสู่วัยชราญาติโยมมาหาอยู่ไม่ขาดระยะ การพักผ่อนน้อย ดูแล้วเหมือน หลวงพ่อเกิด จะอ่อนเพลียไม่ใช่น้อยในแต่ละวัน โดยเฉพาะการมาขอเช่าตะกรุดโทน ซึ่งมีประสบการณ์สูงในทางแคล้วคลาด คงกระพัน !
    พระครูวิมุตยาภรณ์ (เกิด ปริมุตฺโต) อายุ 94 พรรษา 75 เจ้าอาวาสวัดโพธิ์แทนและที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอองครักษ์ ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก หรือนามที่ชาวบ้าน ลูกศิษย์ลูกหา ที่เคารพรักนับถือในตัวท่าน รู้จักกันดีคือ หลวงพ่อเกิด วัดโพธิ์แทน เกจิดังแห่งจังหวัดนครนายก ท่านได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคปอดติดเชื้อเมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม 2557 เวลา 19.00 น. ณ โรงพยาบาลพญาไท 2 กรุงเทพฯมหานคร ด้วยอาการอันสงบ ท่ามกลางความโศกสลด ของศรัทธาประชาชนและลูกศิษย์ลูกหาใกล้ไกล

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสิวลีมหาลาภว่านเถาวัลย์หลงหลังยันต์หัวใจพระสิวลี อธิษฐานจิตปลุกเสกโดยหลวงพ่อเกิดวัดโพธิ์แทน และ อาจารย์พันเสือวัดคลองไทรสระบุรี รูปถ่ายรุ่นที่ระลึกบูรณะศาลาการเปรียญวัดโพธิ์แทนนครนายก

    ให้บูชา 230 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250518_181609.jpg IMG_20250518_181709.jpg IMG_20250518_181634.jpg IMG_20250518_181800.jpg IMG_20250518_181822.jpg
     
  5. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,094
    ค่าพลัง:
    +7,113
    ขอจองครับ
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,180
    ค่าพลัง:
    +21,388
    5o.jpg
    7216172-30153.jpg 7216172-4854a.jpg

    หลวงปู่ทวดประทับทรง พ่อท่านนอง วัดทรายขาว
    กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์นั้น กำหนดในวันที่ 6 กุมภาพันธ์
    2536 พราหมณ์บวงสรวงสังเวยเทวดาและฤกษ์แล้ว ท่านอาจารย์นองก็ขึ้นแท่น
    เททองหล่อรูปเท่าองค์จริง
    ขณะเททองนั้น ก็เกิด เหตุการณ์ประหลาดคือใบหน้าของท่านพระอาจารย์นองเกิดเครียดและดูเหี่ยวย่นกว่าใบหน้าจริงไปมาก หลังคุ้ม ลงและตัวสั่นเหมือนคนแก่อายุมากๆ แต่ ท่านอาจารย์นองยังคงฝืนสติไว้ได้ไม่สั่นจนเททองไม่ได้ เพราะท่านคงจะเกรงว่าจะ
    เททองไม่ติด พอเททองแล้วเสียงของท่านพระอาจารย์นองก็เปลี่ยนไป แสดงให้
    เห็นถึงการที่ไม่อาจจะต้านทานวิญญาณของหลวงปู่ทวดไว้ได้อีกต่อไปแล้ว
    "ไปเอาแม่พิมพ์มาเลย"
    หลวงพ่อทวด อ.นอง วัดทรายขาว รุ่นโปรดสัตว์ ปราบทุกข์ภัย ก้าวหน้า เนื้อผงผสมว่าน ปี 2536 พิมพ์ใหญ่ ในปี พ.ศ.2536 ศูนย์อำนวยการบริหาจ.ชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)ซึ่งมีหน้าที่ภารกิจหลักเพื่อพัฒนาชาติโดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ ได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นโปรดสัตว์ ปราบทุกข์ภัย ก้าวหน้า ได้รับความเมตตาจากท่านอาจารย์นอง แห่งวัดทรายขาว เป็นประธานในพิธีปลุกเสก โดยกำหนดเททองหล่อองค์และกดพิมพ์พระเครื่องเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 และประกอบพิธีพุทธาภิเษกในวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม 2536(ตรงกับฤกษ์เสาร์ ๕)
    โดยมีการจัดสร้างวัตถุมงคลดังนี้
    1.พระบูชาปางธุดงค์ เนื้อโลหะสัมฤทธิ์รมดำ มี 2 ขนาด (ใหญ่/เล็ก)
    2.ลูกแก้ว
    3.พระพิมพ์หลวงพ่อทวด พิมพ์พระประธานจำนวน 1 พิมพ์ และขนาดเล็ก 1 พิมพ์ เป็นพระปางธุดงค์ เนื้อผงผสมว่าน
    พระครูธรรมกิจโกศล (พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต) วัดทรายขาว จ.ปัตตานี
    “เกจิดัง” พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว ปัตตานี
    เจ้าตำรับตะกรุดนารายณ์แปลงรูป “กระฉ่อนเมือง”
    พระครูธรรมกิจโกศล หรือ พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต เดิมชื่อ “นอง หน่อทอง“เกิด เมื่อวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2462 ที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี โยมบิดาชื่อ นายเรือง หน่อทอง โยมมารดาชื่อ นางทองเพ็ง มีพี่น้อง 3 คน คนแรก คือตัวพระอาจารย์นอง คนที่สองนางทองจันทร์ และคนที่สามนายน่วม พระอาจารย์นองเรียนจบ ป.3 ที่โรงเรียนนาประดู่ ขณะมีอายุ 15 ปี ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวน และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อายุ 19 ปี ที่วัดนาประดู่ มีพระพุทธไสยารักษ์ (นุ่ม) วัดหน้าถ้ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่บวชได้ 1 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวนต่อไประยะหนึ่ง จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2482 ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนาประดู่ โดยมีพระครูวิบูลย์สมณกิจ (ชุ่ม) วัดตุยง เจ้าคณะเมืองหนองจิก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดำ วัดนางโอ และพระครูภัทรกรโกวิท (แดง)วัดนาประดู่ เป็นพระคู่สวดได้ฉายา “ธมฺมภูโต” อยู่วัดนาประดู่ได้ 12 พรรษา จากนั้นย้ายมาจำพรรษาที่วัดทรายขาว จนได้เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลโคกโพธิ์ตราบจนมรณภาพ
    สำหรับ พระอาจารย์นองเป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เคยร่วมสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดเนื้อว่านเมื่อปี 2497 จนโด่งดังทั่วสารทิศ และต่อมาพระอาจารย์นองได้สร้างเครื่องรางของขลังที่ดังไปทั่วเมืองไทย คือตะกรุดนารายณ์แปลงรูปและพระเครื่องหลวงพ่อทวดเนื้อว่านฝังตะกรุด นอกจากนั้นแล้วพระอาจารย์นองยังเป็นพระนักพัฒนารูปหนึ่งที่ได้รับการยกย่อง ชมเชยตลอดมา และเป็นพระอยู่ในนิกายมหานิกาย สิริรวมอายุถึงวันมรณภาพได้ 80 ปี 11 เดือน 60 พรรษา
    ความ สัมพันธ์กับอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ท่านเป็นสหธรรมิกกับท่านพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เป็นทั้งกัลยาณมิตรเป็นศิษย์กับอาจารย์ต่อกัน เกื้อกูล เกื้อหนุนกันมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนวาระสุดท้ายของท่านอาจารย์ทิม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2512
    ทั้ง พระอาจารย์ทิม และพระอาจารย์นอง เป็นศิษย์ร่วมสำนักวัดประดู่มาด้วยกันเมื่อพระอาจารย์ทิมมาอยู่วัดช้างให้ และพระอาจารย์นองไปอยู่วัดทรายขาว ก็ยังมีความสัมพันธ์ดีงามมาโดยตลอด กิจการใดของวัดช้างให้ ท่านจะเป็นผู้คอยช่วยเหลืออยู่ข้างกายพระอาจารย์ทิมทุกอย่าง ที่สำคัญ การสร้างพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ถ้าจะกล่าวกันแล้ว ปฐมเหตุจริงๆ ก็มาจากท่านที่เป็นผู้ชักชวนพระอาจารย์ทิมให้สร้างพระหลวงพ่อทวด ตามที่ท่านได้เล่าให้ฟังเท่าที่จำได้คร่าวๆ คือ
    ช่วง นั้น ท่านกับพระอาจารย์ทิม ขึ้นมากรุงเทพฯ และไปที่วัดระฆัง เพื่อที่จะไปเช่าบูชาพระสมเด็จของหลวงปู่นาค มาเพื่อให้คนทำบุญจะได้นำเงินไปสร้างโบสถ์วัดช้างให้ พกเงินขึ้นมาประมาณ 3,000 บาท ขณะที่กำลังจะขึ้นไปเช่าพระ ท่านบอกว่า “กูนึกยังไงก็ไม่รู้ สะกิดอาจารย์ทิม บอกว่า ท่านๆ ทำไมเราไม่กลับไปทำพระของเราเองล่ะ” “พระอะไร…?” พระอาจารย์ทิมถาม “ก็พระหลวงพ่อทวดไง” พระอาจารย์ทิมบอก “เออ…!! นั่นน่ะสิ” ทั้งสองท่านจึงได้เช่าบูชาพระสมเด็จหลวงปู่นาคม เพียงเล็กน้อยและพากันกลับปัตตานี
    ปฐม เหตุตรงจุดนี้ คือกำเนิดของสุดยอดพระเครื่องเมืองใต้ หลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปีพ.ศ.2497 อันเป็นอมตะตลอดกาล ส่วนคุณอนันต์ คณานุรักษ์ นั้น เป็นส่วนประกอบที่ช่วยเหลือให้การจัดสร้างสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งคงเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อทวดที่บันดาลชักนำ คุณอนันต์ คณานุรักษ์ คหบดีชาวปัตตานีให้มาเป็นกำลังสำคัญ
    พระอาจารย์นอง ธัมมภูโต วัดทรายขาว
    การ จัดสร้างพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ท่านจึงมีส่วนอย่างมากในทุกๆ ขั้นตอนการจัดสร้าง ฉะนั้น…ท่านจะรู้พิธีกรรม และเรื่องว่านดีที่สุด เมื่อท่านมาสร้างพระหลวงพ่อทวด ขึ้นเองจึงมีความขลังแ ละศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนมาโดยตลอด
    เหตุการณ์ที่บ่งให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองพระอาจารย์ที่ผู้เขียนได้ฟังแล้วรู้สึกประทับใจและกินใจมาก ตามที่ท่านเล่าให้ฟังว่า
    ก่อน ที่อาจารย์ทิมจะไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ ท่านมาหาเราที่วัด สั่งเสียไว้หลายเรื่องฝากให้เราช่วยดูแลวัดช้างให้ ท่านหยิบขันน้ำมนต์ขึ้นมา ท่านจับประคองอยู่ด้านหนึ่งให้เราจับอีกด้านหนึ่ง แล้วท่านพูดว่า “ตั้งแต่คบกันมา คุณไม่เคยทำให้ผมเสียใจเลย คนอื่นยังมีตรงบ้าง คดบ้าง “เรา” ขออธิษฐาน บุญใดที่เคยทำร่วมกันมา และยังไม่เคยทำร่วมกันมาก็ดี ทั้งชาตินี้และอดีตชาติ ขออธิษฐาน เกลี่ยบุญให้เท่ากัน เพื่อจะได้เกิดทันกันทุกๆ ชาติไปจนถึงชาติสุดท้าย”
    จาก นั้นพระอาจารย์ทิมก็เข้าไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ และก็มรณภาพที่โรงพยาบาลกลางเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2512 คำอธิษฐานนี้ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นคำพูดที่ยิ่งใหญ่ เป็นอมตวาจาอย่างแท้จริง ได้ความรู้สึกถึงความผูกพันที่ท่านทั้งสองมีต่อกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาตลอด ได้ร่วมสร้างตำนานอันมหัศจรรย์ ของหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ แผ่ออกไปทั่วทุกสารทิศ พระอาจาร์ทิม ถ้านับจาก พ.ศ.2497-2512 ก็เพียง 15 ปี แต่พระอาจารย์นองท่านใช้เวลาถึง 45 ปี (2497-2542)
    ปัจจุบัน หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ไม่มีใครไม่รู้จักชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดดังไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ ก็มีผู้คนนับถือไม่น้อยเช่นกัน
    เรื่อง ความสัมพันธ์กับพระอาจารย์ทิมนั้น ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับ “ดีนอก” คือมีปัจจัยอื่นช่วยส่งเสริม แต่เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็คือ “ดีใน” นั่นเอง หมายถึง คุณลักษณะส่วนตัวของพระอาจารย์นอง สองสิ่งต้องคู่กันจึงจะสมบูรณ์ เมื่อดีก็ต้องดีทั้งนอก ดีทั้งใน
    พระ อาจารย์นอง ท่านยึดถือมาตลอดในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่เลือกว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ยากดีมีจน ท่านจะเป็นผู้ให้มาโดยตลอด ทั้งเรื่องสร้างโรงพยาบาลซื้ออุปกรณ์การแพทย์ สร้างโรงเรียน ทุนการศึกษา สร้างถนนหนทาง บริจาคทรัพย์ให้กับสาธารณกุศลอยู่เป็นประจำ ช่วยสร้างอุโบสถวัดต่างๆ แม้กระทั่งบริจาคเงินให้กับชาวอิสลามที่อยู่แถบ วัดทรายขาว ตลอดจนช่วยเหลือสงเคราะห์เรื่องต่างๆ จนได้รับการยอมรับนับถือจากชาวอิสลามเป็นจำนวนมาก
    ใน เรื่องของการบริจาคทรัพย์ซื้ออุปกรณ์การแพทย์นั้น ท่านบอกว่า สามารถช่วยเหลือชีวิตคนได้มากประโยชน์เกิดขึ้นทันที ด้วยการที่ท่านเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้งท่านจึงเห็นคุณประโยชน์ของ อุปกรณ์การแพทย์ บางครั้งเวลาท่านอารมณ์ดีท่านจะเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง ท่านเคยพูดว่า
    “ตอน กูไปอยู่โรงพยาบาล กูก็เตรียมเงินสดไปด้วยตลอด แล้วถามหมอว่า ขาดอะไรบ้าง หมอบอกว่า ขาดไอ้นั่น ไอ้นี่ กูควักเงินสดให้ไปซื้อเลย ครั้งหลังๆ นี่ พอกูไปนอนโรงพยาบาล ตื่นขึ้นมามองซ้าย มองขวา มีชื่อ พระครูธรรมกิจโกศล ติดเต็มไปหมด” ท่านพูดเสร็จก็หัวเราะร่วนชอบใจใหญ่
    ท่าน เคยพูดให้ฟังเสมอว่า “คนที่เขาเดือดร้อนมาพึ่งเรา หากไม่เกิดวิสัยแล้ว เราช่วยได้ก็จะช่วย บางคนมาไม่มีเงิน ค่ารถ ค่ากิน เราก็ให้ไปเรื่องบุญ เรื่องทาน ใครทำใครก็ได้ไป บุญยิ่งทำก็ยิ่งได้บุญ ทานยิ่งให้ทานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้กลับมามากยิ่งๆ ขึ้นเป็นการสั่งสมบารมีลดกิเลสลงไป”
    จริง ดั่งท่านว่า “ยิ่งทำก็ยิ่งได้ ยิ่งให้ก็ยิ่งมา” ธรรมะข้อนี้เป็นเรื่องที่เหมาะสำหรับสังคมยุคปัจจุบันอย่างยิ่ง เพราะสังคมเราทุกวันนี้ มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นทุกที ถ้าคนเรารู้จักคำว่าให้ รู้จักคำว่าพอ รู้จักเสียสละ เชื่อว่าสังคมจะดีขึ้นกว่านี้แน่นอน เรื่องทานบารมีเป็นธรรมะที่พระอาจารย์นอง ยึดปฏิบัติบำเพ็ญเพียรมาโดยตลอดชีวิตของท่าน ถือว่าเป็นคุณความดีในตัวท่านเอง แต่สามารถสร้างคุณานุประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างมหาศาลท่านจึงเป็นที่รักเคารพ ของมหาชน
    พระ อาจารย์นองท่านดำรงชีวิตอยู่ในสมณเพศด้วยความเรียบง่าย กิน (ฉัน) ง่ายอยู่ง่ายไม่พิถีพิถัน วางเฉยในเรื่องยศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่มีความทะยานอยาก ท่านพัฒนาวัดทรายขาว จนมีความเจริญรุดหน้าอย่างเห็นได้ชัดเจน ชั่วระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี ท่านสร้างวัดทรายขาว ให้งามสง่ากว่าวัดใดๆ ใน จ.ปัตตานี หรือแม้กระทั่งจังหวัดใกล้เคียง เงินที่นำไปสร้างทั้งหมดกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ล้วนแล้วแต่เป็นเงินที่มาจากการสร้างพระหลวงพ่อทวดทั้งสิ้น ท่านมิได้แตะต้องเงินทำบุญที่มีผู้บริจาคให้วัดแต่อย่างใด ปรากฏว่าหลังจากท่านมรณภาพ คณะกรรมการได้เคลียร์บัญชีทรัพย์สินในบัญชีต่างๆ เหลือเงินสดถึงกว่าสามสิบล้านบาท ทุกบัญชีท่านแยกแยะไว้ชัดเจนว่าเป็นเงินอะไรบ้าง มีที่มาที่ไปอย่างไร หนี้สินใครบ้าง ท่านมีบัญชีทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความเป็นนักบริหารงานที่มีการจัดการที่ดีเยี่ยม

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ทวดโปรดสัตว์ปราบทุกข์ภัยก้าวหน้า พิมพ์ใหญ่

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งอีก 30 บาทครับ


    FB_IMG_1747594806198.jpg

    IMG_20250519_013408.jpg IMG_20250519_013453.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,180
    ค่าพลัง:
    +21,388
    พระสมเด็จ ปรกโพธิ์พระครูลมูล (ส.พัฒนกิจ) วัดเสด็จ ปทุมธานี ไม่ฝังตะกรุด ปี๒๕๑๓
    รูปหล่ออุดผง ปี ๓๔ หลวงพ่อลมูล
    หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ผู้สำเร็จวิชาลบผงวิเศษ ๑๒ นักษัตร
    ท่านเป็นพระเกจิเชื้อสายรามัญแห่งจังหวัดปทุมธานี สุดยอดพระเกจิผู้มีพุทธคมเข้มขลัง เป็นผู้ที่มีจิตสมาธินิ่งมาก สามารถเขียนผงทะลุกระดานชนวนได้เพียงอึดใจ
    ในการสร้างพระสมเด็จฯ นอกจากวิชาลบผงวิเศษทั้ง ๕ ประการแล้ว ท่านยังใช้วิชาลบผง ๑๒ นักษัตร อันเป็นวิชาของชาวมอญที่ตกทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีพระเกจิอาจารย์รูปใดในยุคก่อนๆ ที่วงการรู้จักมีการทำผงชนิดนี้ นี่จึงเป็นของวิเศษอันสุดยอดของหลวงปู่เทียนที่พระเกจิอาจารย์รูปอื่นๆ ไม่มี
    ผง ๑๒ นักษัตร เป็นเรื่องเกี่ยวพันกับโหราศาสตร์ที่อธิบายได้ว่า มนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ต้องเกิดมาในปีนักษัตรใดนักษัตรหนึ่ง และในปีหนึ่งๆ นั้นประกอบไปด้วย ๑๒ ราศี ที่มีความเกี่ยวพันกับดวงดาว อันเป็นตัวกำหนดเส้นทางชีวิตของคนคนนั้น ที่เรียกว่า “ดวงชะตา”
    หลวงปู่เทียน ท่านศึกษาค้นคว้าวิชานี้จากตำราโบราณที่อาจารย์มอบให้จนสำเร็จด้วยตัวเอง วัตถุมงคลของท่านทุกองค์จะมีผง ๑๒ นักษัตรผสมอยู่ด้วย จึงมีอานุภาพในการหนุนส่งดวงชะตาในช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์และปกป้องไม่ให้ตกต่ำในยามที่ดวงไม่ดี
    ผงนี้กระบวนการทำนั่นยากมาก เป็นผงที่ลบจากยันต์ ๑๒ นักษัตร จึงเข้าได้กับผู้อาราธนาทุกปีเกิด มีศิษย์ที่ไปขอเรียนวิชานี้กับหลวงปู่จำนวนมาก แต่สามารถเรียนได้สำเร็จแค่ ๒ รูป คือ
    หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ
    หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ
    คำว่า เนื้อ 12 นักษัตร นั้นหลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ท่านเล่าว่า ผง 12 นักษัตรเป็นผงที่สร้างยากต้องมีความมานะพยายามอย่างสูงกว่าจะรวบรวมวัตถุมงคลให้ครบตามตำราก็ยากเย็นแสนเข็ญแล้ว เช่น
    - กระดูกม้าขาว
    - กระดูกไก่ดำ ซึ่งกระดูกออกเป็นสีชมพู
    - กระดูกนิ้วก้อยซ้ายขวาของผีตายวันเสาร์เผาวันอังคาร มาบดผสม
    เมื่อได้กระดูกสัตว์ทั้ง 12 ชนิด และวัสดุมลคลอื่นครบถ้วนตามตำราแล้ว ต้องบดผงเข้าด้วยกันแล้วปั้นเป็นแท่งดินสอเตรียมไว้ เมื่อเข้าพรรษาก็ให้เริ่มลงอักขระเลขยันต์ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้ายของพรรษา ทำจนครบ 3 พรรษา
    พระครูสาทรพัฒนกิจ (หลวงพ่อลมูล) วัดเสด็จ อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี ศิษย์เอกของหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ พระเกจิดังแห่งเมืองปทุมธานี ท่านเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกในพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก ปี2515 หลวงพ่อลมูล ท่านเป็นยอดพระเกจิที่เก่งมากๆ พลังจิตของท่านดีมาก จนชาวบ้านยกย่องเป็นเทพเจ้าแห่งสวนพริกไทย หลวงพ่อละมูล ท่านเองก็ชอบสร้างพระสมเด็จเช่นกันครับ เหมือนอาจารย์ท่าน คือหลวงปู่เทียน โดยหลวงปู่เทียน นอกจากท่านจะสำเร็จวิชาการทำผงวิเศษ ๕ ประการ คือ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห และ ผงพุทธคุณ แล้ว ท่านยังเป็นพระที่สำเร็จวิชา “ผง ๑๒ นักษัตร์” ซึ่งเป็นผงที่เขียนลบมาจากยันต์ ๑๒ นักษัตร์ ทั้ง ๑๒ ปี ดังนั้น พระเนื้อผงของท่านจึงดีเด่นสูงค่าไปด้วยพระพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม อุดมโชคลาภ มีกินมีใช้ทุกปี ไม่ขัดสน เข้าได้กับทุกผู้คน ทุกปีเกิด สามารถป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดเวลาที่มีพระเครื่องของท่านพกพาอาราธนาติดตัวอยู่ เวลาดวงชะตาตกต่ำ ก็จะค้ำจุนไม่ตกอับจนเกินไป เวลาดวงชะตารุ่งโรจน์ ก็จะเสริมดวงชะตาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น หลวงปู่เทียนท่านได้ถ่ายทอดวิชาผง ๑๒ นักษัตร์นี้ให้แก่ศิษย์ คือ หลวงพ่อลมูล โดยหลวงพ่อลมูลท่านจะทำพิมพ์ให้ต่างจากหลวงปู่เทียน และท่านก็ลบผงพุทธคุณเองด้วยเช่นกัน พระท่านน่าแขวน รุ่นเก่าๆหาก็ไม่ค่อยง่ายเช่นกัน ทางพื้นที่นิยมกันมากครับ จำไว้ว่าตะกรุดที่ฝังจะไม่เรียบร้อยเช่นกัน ม้วนไม่ค่อยกลมนะครับ วัตถุมงคลของท่านนั้นสามารถใช้ป้องกันภัยอันตราย จากสัตว์มีพิษต่างๆ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ที่มีมากมายในสวนสมัยก่อนได้อย่างน่ามห้ศจรรย์ อีกทั้งยังมีพุทธคุณครบเครื่อง ไม่เป็นรองอาจารย์ของท่าน ทั้งคงกระพัน มหาอุด มหานิยม เมตตา โชคลาภ ลูกศิษย์ทั้งหลายล้วนทราบกันดี
    หลวงพ่อลมูล ขันติพโล วัดเสด็จ อ.เมือง จ.ปทุมธานี
    หลวงพ่อลมูล ขันติพโล หรือท่านพระครูสาทรพัฒนกิจ เจ้าอาวาสวัดเสด็จ ตำบลสวนพริกไทย อ.เมือง จ.ปทุมธานี ท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่มหาชนในยุคก่อนและยุคนี้ต่างก็ให้ความเคารพนับถือมากมาย หลวงพ่อลมูลท่านเป็นชาวมอญโดยกำเนิด เดิมชื่อลมูล จับจิตต์ เกิดวันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2458 แรม 5 ค่ำ ปีเถาะ บิดาชื่อ นายติ่ง มารดาชื่อ นางแม้น จับจิต ท่านเกิดที่หมู่ 4 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน ท่านเป็นคนที่ 2 ของครอบครัว เมื่อท่านอายุได้ 3 ขวบ ท่านได้ย้ายตามบิดามารดามาอยู่ในคลองบางใหญ่หมู่ที่ 1 ตำบลสวนพริกไทย อ.เมือง จ.ปทุมธานี เพราะโยมปู่เหลือ และโยมย่าแหวว จับจิตต์ ได้มอบมรดกที่ดินให้กับครอบครัวของท่านไว้ทำกิน ท่านจึงต้องย้ายมาอยู่ด้วย พอท่านอายุได้ 12 ปี โยมพ่อได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับ"พระอาจารย์ไม้" ที่วัดเสด็จ ท่านอยู่ได้ 1 ปี ทำให้ท่านได้ฝึกฝนนิสัยไปในทางอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักที่สูงที่ต่ำ ทั้งสิ่งที่ควรและไม่ควร ต่อมา "ครูชั้น ดำกลิ่น" ได้มาขอตัวท่านจากพระอาจารย์ไม้ไปเป็นศิษย์ โดยให้ไปเรียนหนังสือเพิ่มเติมที่วัดพระเชตุพน คณะ 20 ท่านศึกษาจนอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี โดยสมัยนั้นสมเด็จป๋าสมเด็จพระสังฆราช(ปุ่น ปุ่ณณสิริ) ยังคงเป็นครูสอนภาษาบาลีอยู่ ณ สำนักแห่งนี้ แต่ในการเรียนต่อของท่านในขณะนั้นได้ชะงักลง เพราะเหตุที่โยมพ่อต้องการให้กลับมาช่วยดูแลทำนาเพื่อช่วยครอบครัว ท่านจึงต้องกลับมาทั้งๆที่เสียดายมาก หลังจากที่ท่านกลับมาอยู่บ้าน ท่านก็ได้ช่วยโยมพ่อทำนาพร้อมกับได้เริ่มเรียนหนังสือต่ออีก เพราะอายุท่านนั้นไม่พ้นเกณฑ์ยังอยู่ในภาคบังคับ ต้องเรียนหนังสือต่อ หลวงพ่อลมูลจึงเรียนที่วัดเสด็จซึ่งได้มีการเปิดโรงเรียนประชาบาลภาคบังคับขึ้น ท่านจึงได้เริ่มเรียนหนังสือตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาอีก ท่านเป็นนักเรียนคนที่ 38 ของโรงเรียนนี้ ท่านเรียนจนจบชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในสมัยนั้น หลังจากที่ไม่ได้เรียนแล้ว ท่านก็ได้ช่วยเหลือบิดา มารดาทำนา ตามความประสงค์จนอายุได้ 18 ปี บิดามารดาของท่านได้ขอให้ท่านแต่งงานเปรียบเสมือนโซ่ตรวนผูกมัดไม่ให้บวช อีกประการหนึ่งท่านต้องการศึกษาหาความรู้ใส่ตนให้มากขึ้นกว่านี้ ประกอบกับจิตใจของท่านฝังลึกว่า การบวชนั้นเปรียบเสมือนทางไปสวรรค์ที่จะสามารถบันดาลให้พ้นทุกข์ได้
    ความตั้งใจของหลวงพ่อลมูล ขันติพโล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี สัมฤทธิ์ผล คือโยมบิดา มารดา ไม่อาจขัดได้จึงได้นำท่านไปฝากเป็นนาคกับ พระอธิการเผือก สุกโก ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส วัดเสด็จ ในขณะนั้นหลวงพ่อลมูล ขันติพโล ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2497 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 เวลา 14 นาฬิกา 50 นาที ที่พระอุโบสถวัดเสด็จ โดยมีหลวงปู่เทียนหรือท่านพระครูบาวรธรรมกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการเผือก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ไม้ รุกขโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ขันติพโลภิกขุ"
    หลังจากที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านได้ตั้งใจแน่วแน่ว่า ท่านจะเล่าเรียนพระธรรมวินัยตามระเบียบของวัด คือการเรียนพระปริยัติธรรมและจะตั้งใจปฏิบัติกิจในพระบวรพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดตลอดชั่วชีวิต ในเพศพรหมจรรย์ของท่านจะขอถวายตัวเป็นพุทธบุตรผู้สืบต่อพระพุทธศาสนาไปจนชีวิตจะหาไม่ พรรษาแรกท่านก็ได้เรียนนักธรรมชั้นตรี พรรษาที่ 2 ท่านก็สอบนักธรรมชั้นตรีได้ ในพรรษาที่ 3 ท่านก็สอบนักธรรมชั้นโท แต่สอบตก ท่านจึงอธิษฐานจิตจะไม่ขอเรียนนักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอกอีกต่อไป ท่านจะเปลี่ยนแนวทางมุ่งไปในทางปฏิบัติ เมื่อหลวงพ่อตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้ว ท่านก็ออกเดินธุดงค์ มุ่งหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร แต่ก่อนเดินธุดงค์นั้นท่านได้ขอไปฝึกกรรมฐานเพิ่มเติมจาก หลวงปู่เทียน พระอาจารย์ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน ซึ่งท่านก็ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้เต็มที่ หลังจากได้รับการฝึกฝนในด้านสมาธิอย่างเพียงพอ หลวงปู่เทียน ท่านได้มอบหมายให้หลวงปู่พร้อม เป็นหัวหน้านำในการธุดงค์ในครั้งนั้น ในด้านส่วนลึกของหลวงพ่อลมูล ท่านต้องการออกธุดงค์ไปองค์เดียวแต่ติดขัดในข้อบัญญัติทางพระธรรมวินัยว่าพระที่จะออกธุดงค์ถ้ามีพรรษาไม่ถึง 5 พรรษา ต้องมีพระพี่เลี้ยงนำไป แต่ถ้าเกิน 5 พรรษาไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องมี จุดแรกที่ที่ท่านออกธุดงค์ ก็คือที่วัดพระพุทธบาทสระบุรี เพราะสถานที่นี้เป็นที่อันศักดิ์สิทธิ์ มีความสงบ ร่มรื่นเหมาะในการบำเพ็ญเจริญภาวนา ต่อจากนั้นท่านก็มุ่งสู่ภาคเหนือ แม่สอด ตาก กำแพงเพชร เพราะท่านเห็นว่ามีภูเขามากเป็นแดนที่สงบ ในการเดินทางไปภาคเหนือครั้งนั้นท่านพบกับอุปสรรคอย่างมากมาย จากสัตว์ป่าบ้าง ตลอดจนอาหารที่ฉันท์เพราะไม่ค่อยมีหมู่บ้าน ท่านต้องฉันท์ผลไม้ป่าแทนแทบทุกวัน ฉันท์วันละเพียงมื้อเดียว ส่วนในด้านฝึกหัดปฏิบัติธรรมและจำวัดในตอนกลางคืน หลวงพ่อท่านก็ต้องหาสถานที่ปลอดภัย หลวงพ่อลมูลตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หลังจากการเดินทางเข้าสู่พรรษาที่ 5 พระพี่เลี้ยงต่างก็แยกย้ายกันเดินทางกลับ หลวงพ่อลมูล จึงออกเดินธุดงค์เพียงองค์เดียว เดินทางไปถึงประเทศพม่า ท่านได้ไปพบกับถ้ำประหลาดซึ่งอยู่ในภูเขาลูกเล็กๆ แต่มหัศจรรย์มากเพราะภายในถ้ำมีแต่ขี้ค้างคาว แต่ไม่มีกลิ่นเหม็นเลยสักนิดเดียว และมีค้างคาวเต็มไปหมด แต่ค้าวคาวก็ไม่เคยบินมาถูกท่านเลย การเดินทางเอาตัวรอดในป่าดงดิบก็ด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังต่อเนื่องและเคร่งครัดอำนาจบารมีของพุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณ เป็นอำนาจสูงสุด ผู้ปฏิบัติเคร่งครัดย่อมได้ผล แม้แต่ไปเจอสิงห์สาราสัตว์ที่ดุร้าย เจ้าที่เจ้าทางเจ้าป่าเจ้าเขา ด้วยอานุภาพบารมีดังกล่าวช่วยคุ้มภัยได้เป็นอย่างดี
    หลังจากที่หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ ท่านได้ธุดงค์ได้ระยะหนึ่ง หลวงพ่อท่านก็ได้เดินทางกลับมายังวัดเสด็จ เพื่อมาช่วยเหลือกิจการของสงฆ์ในวัด ซึ่งในขณะนั้น หลวงปู่เผือกผู้ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสมีปัญหาเกี่ยวกับการปกครอง เนื่องจากมีพระภิกษุในวัดเดียวกันจะคิดกำจัด และปลดท่านจากการเป็นเจ้าอาวาส ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า บัญชีของวัดทำไม่ถูกต้อง และหย่อนสมรรถภาพในการปกครอง แต่ในข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเป็นเพราะหลวงปู่เผือกเป็นพระที่มีความละเอียดรอบครอบ กระทำสิ่งใดๆไม่หวังผลประโยชน์มากเกินไป จึงเป็นเหตุให้ฝ่ายตรงข้างเสียผลประโยชน์ พากันกลั่นแกล้งท่าน หลวงปู่เทียนซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านกลางจึงได้เรียกตัวหลวงพ่อลมูลไปปรึกษาและมอบหมายให้ช่วยเหลือหลวงปู่เผือก ในด้านภารกิจต่างๆท่านได้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ตั้งแต่นั้นมาท่านจึงไม่มีโอกาสออกเดินธุดงค์อีกต่อไป เพราะหน้าที่บังคับและหลังจากนั้นท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ.2491 คือหลังจากที่พระอธิการเผือกได้มรณะภาพลงเมื่อปี พ.ศ.2490
    ในด้านผลงานของหลวงพ่อลมูล ท่านได้พัฒนาไม่หยุดหย่อน ตั้งแต่ถนนหนทาง จนถึงบ้านพักและสถานีตำรวจสวนพริกไทย อนามัย และโรงเรียน ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเลื่อมใส ต่างก็ได้ส่งบุตรหลานของตนเข้ามาบวชอยู่กับท่านอย่างมากมาย ทุกคนได้หันหน้าเข้าวัดด้วยการฝึกปฏิบัติธรรมกับท่านมิได้ขาดเพราะชาวบ้านถือกันว่าท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง จากผลงานในด้านปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรม ทำให้ทางคณะสงฆ์มีความเห็นขอแต่งตั้งให้ท่านเป็นพระครูใบฏีกาลมูล เมื่อปี พ.ศ.2495 โดยฐานะนุกรมของท่านเจ้าคุณธรรมกิตติในปีพ.ศ.2500 ท่านได้รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
    ผลงานในด้านปริยัติธรรมหลวงพ่อลมูล ท่านก็ได้ตั้งสำนักเรียนนักธรรมตั้งแต่ชั้นตรี -โท- เอก ขึ้นรวมทั้งสอนแผนกบาลีด้วย ทางด้านปฏิบัตินั้นท่านได้ฝึกอบรมกรรมฐานเป็นประจำ จนมีญาติโยมเข้ามาฝึกกรรมฐานกันมากขึ้นทุกวันเพราะเชื่อกันว่า การฝึกกรรมฐานกับท่านแล้วทำให้เกิดศรัทธาแรงกล้า ส่วนในระยะที่อยู่ในพรรษาแต่ละพรรษาท่านต้องเป็นผู้นำพระใหม่ และเก่าฝึกกรรมฐาน รวมทั้งเป็นผู้นำสวดมนต์เช้าเย็นมิได้ขาดทุกวัน ตลอดจนสั่งสอนอบรมจริยวัตรในขณะที่เป็นสงฆ์และไปเป็นฆราวาส ด้านการพัฒนาวัด หลวงพ่อลมูลได้ทำต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่ท่านเข้าดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จด้วยความสามารถนานาประการของหลวงพ่อลมูล จึงจัดว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งของเมืองไทยที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก หลวงพ่อลมูล ขันติพโล วัดเสด็จ อ.เมือง จ.ปทุมธานี ท่านมรณภาพเมื่อพ.ศ.๒๕๔๘ สิริอายุ ๘๙ ปี
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ๒ องค์
    พระสมเด็จปรกโพธิ์ พระครูลมูล (ส.พัฒนกิจ) วัดเสด็จ ปทุมธานี ไม่มีฝังตะกรุด ปี๒๕๑๓
    รูปหล่ออุดผงหลวงพ่อลมูล ปี ๒๕๓๔

    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20250519_013822.jpg IMG_20250519_013902.jpg IMG_20250519_013931.jpg IMG_20250519_014009.jpg IMG_20250519_014053.jpg IMG_20250519_014152.jpg
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,180
    ค่าพลัง:
    +21,388
    FB_IMG_1747662323025.jpg

    เทพเจ้าสายบู๊แห่งดินแดนลังกาสุกะ ชายแดนใต้
    ประวัติพ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จังหวัดปัตตานี
    เกิด: สิงหาคม พ.ศ.2472 ณ.ตำบลหน้าถ้ำ อ.เมืองจ.ยะลา
    โยมบิดา : ชื่อนายทอง เพ็ชรภักดี
    โยมมารดา : ชื่อ นางกิ๊ม นวลศรี
    ชีวิตวัยเด็ก : หลังจากจบ ป.4 ต้องออกจากบ้านหางานทำเลี้ยงแม่และน้องๆ เพราะบิดาท่านได้ถึงแก่กรรม
    อุปสมบท : ณ พัทธสีมา วัดบุพนิมิตร(วัดนางโอ) อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี
    พระอุปัชฌาย์ : พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ
    ศึกษาธรรม : ศึกษาพระปริยัติธรรมและนักธรรม รวมทั้งในด้านการสวดมนต์พิธีต่างๆ โดยสามารถสวดพระปาฏิโมกข์ได้ตั้งแต่ ในพรรษาที่5 นอกจากนี้ยังศึกษาสรรพวิชาจากฆราวาสที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ อีกหลายท่าน
    พระอาจารย์เขียว หรือ พ่อท่านเขียว ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาในจังหวัดยะลา เป็นบุตรคนที่ 3 จากจำนวนทั้งหมด 7 คน ดังนี้
    1. นาย เชือน เพ็ชรภักดี ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    2. นาย แก้ว เพ็ชรภักดี ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    3. พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ ( นามเดิม เขียว เพ็ชรภักดี )
    4. นายชื่น เพ็ชรภักดี ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    5.นายแจ๊ก เพ็ชรภักดี ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    6.นายสมใจ เพ็ชรภักดี( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    7.นาง สาว เพ็ชรภักดี
    ช่วงชีวิตในวัยเด็กพ่อท่านเขียว ท่านก็เหมือนเด็กชาวบ้านในต่างจังหวัดทั่วไป หลังจากเรียนจบ ป.4 บิดาได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงต้องออกมาทำงานช่วยครอบครัว เพื่อเลี้ยงแม่และน้องๆ ซึ่งในเวลานั้นท่านก็สู้อดทนรับจ้างทำงานทุกอย่าง จนกระทั่งอายุได้ 20 ปี จึงตัดสินใจบวช ตามประเพณีนิยม ณ.วัดนางโอ (ปัจจุบันคือวัดบุพนิมิตร) อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ท่านบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2492 ณ.พัทธสีมา วัดนางโอ
    โดยมี พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอธิการแดง ธมฺมโชโต วัดนาประดู่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอธิการทอง จนฺทโชโต วัดภมรคติวัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    พระอธิการดำ ติสสโร เจ้าอาวาส วัดนางโอในขณะนั้น เป็นประธานสงฆ์ พระสงฆ์หัตถบาส เป็นพระอาจารย์ ผู้ที่ประสิทธิ์ประศาสน์ วิชาความรู้ ให้พ่อท่านเขียวมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นฆราวาส
    หลังจากครองผ้าเหลือง พ่อท่านเขียว ได้จำพรรษาอยู่วัดนางโอ โดยท่านได้ใช้เวลาว่างทั้งหมด เล่าเรียนการสวดมนต์ต่างๆ และรวมถึงการสวดภาณยักษ์ แบบฉบับของภาคใต้ กระทั่งพรรษา 2 ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสุนทรบัญชาราม อ.รามัญ จ.ยะลา ครั้งถึงพรรษาที่ 3 พ่อท่านเขียว ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดนางโออีกครั้ง ได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ กับ “ตาเลี่ยม”ฆราวาสที่เชี่ยวชาญ ด้านวิปัสสนา รวมทั้งศึกษาสรรพวิชาต่างๆจากผู้เรืองพระเวทย์วิทยาคมอีกหลายท่าน
    นอกจากนี้ พ่อท่านเขียวยังได้ศึกษาในทางธรรม ท่านปฏิบัติเคร่งครัด ศึกษาด้านปริยัติธรรมบาลีไวยากรณ์และนักธรรม รวมถึงการสวดมนต์ สาธยายธรรม ด้วยเหตุนี้เอง พ่อท่านเขียวท่านจึงสามารถ สวดปาฏิโมกข์ได้ตั้งแต่ในพรรษาที่ 5 พ่อท่านเขียว สอบได้นักธรรมโทและต่อมา ท่านได้รับตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาส วัดนางโอ จนกระทั่งได้เป็นเจ้าอาวาสในลำดับต่อมา ในระหว่างนี้ท่านเองเป็นสหธรรมมิกกับ “พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ” ด้วยความที่วัดอยู่ใกล้กัน ท่านทั้งสองจึงได้เคยร่วมสังฆกรรม สนทนาธรรม และร่วมในพิธีกรรมต่างๆด้วยกันเสมอ
    โดยเฉพาะเมื่อคราวที่ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ สร้าง พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นปี2497 เพื่อแจกแก่ผู้ที่ร่วมสร้างพระอุโบสถ วัดช้างไห้นั้น พ่อท่านเขียว เป็นผู้หนึ่งที่คลุกเนื้อผสมว่าน และ ร่วมอยู่ในพิธีกรรมเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างที่ท่านอาจารย์ทิม อัญเชิญดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ทวด เพื่อปลุกเสกพระเครื่องเนื้อว่านในคราวปี2497 และร่วมพิธีกรรมปลุกเสกอีกหลายวาระจนเมื่ออาจารย์ทิมท่านมรณภาพแล้ว ยังมีพิธีกรรมที่สำคัญอีก 1 วาระ คือปลุกเสกหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี 2524 ปัจจุบันเป็นที่เสาะหากันมาก เพราะมีประสบการณ์คุ้มภยันตราย แคล้วคลาดปลอดภัยแก่ผู้ที่นับถือ
    นอกจากนี้ ยังได้รับนิมนต์ ไปปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆ ในหลายพิธีตลอดมาทั้งไกลและใกล้จนถึงปัจจุบัน นับว่าพ่อท่านเขียว เป็นพระเกจิสำคัญถือเป็นเพชรอีกรูปหนึ่ง แห่งเมืองใต้ เลยทีเดียวส่วนหลักฐานสำคัญ อีกรูปที่รับรอง หลวงพ่อเขียว ว่าปลุกเสกหลวงปู่ทวดเดี่ยวเพียงลำพังรูปเดียวได้ดีคือท่านอาจารย์นอง วัดทรายขาว ท่านกล่าวไว้กับศิษย์ใกล้ชิดที่ร่วมรับรู้หลายท่าน ถือเป็นหลักฐานรับรองที่สำคัญ อีกประการหนึ่งในราวปี2500 พ่อท่านเขียวได้ตรวจสอบธรณีสงฆ์รอบวัดนางโอ พบการรุกล้ำที่วัดของชาวบ้านละแวกวัด ทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นไม่พอใจ กระทบกระทั่งกันหลายวาระ ในที่สุดหลวงพ่อเขียว จึงตัดสินใจ ออกจากวัดไปจำพรรษา ที่วัดภมรคติวัน และที่วัดนี้ก็มีปัญหาเดียวกันกับวัดนางโอ ท่านจึงย้ายวัดไปจำพรรษาที่วัดนาประดู่อีกครั้ง
    และในระหว่างนี้ท่านอาจารย์ธีร์เจ้าอาวาสวัดห้วยเงาะ ในเวลานั้น จึงได้มานิมนต์ท่านไปอยู่ด้วยกันเสียที่วัดห้วยเงาะ เนื่องด้วยพรรษาท่านมากจะได้ดูแลและไม่ต้องพบกับภาระเหนื่อยหนักอีก พ่อท่านเขียวท่านเป็น พระสงฆ์ที่มัธยัสถ์อดออมและรักสันโดษ ท่านชอบการอ่านหมั่นศึกษาหาความรู้ในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านกฏหมายบ้าน เมือง การเกษตรกรรม โหราศาสตร์ สมุนไพรกลางบ้าน รวมถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในอันที่จะนำไปสงเคราะห์ผู้อื่นได้ พ่อท่านมีเมตตาสูงกับเหล่าศิษย์ และผู้ที่ไปขอให้ท่านเสกเป่าบรรเทาทุกข์ แก้ไขสิ่งที่ขัดข้องในชีวิต ท่านเมตตาเสมอเหมือนกันหมด ไม่ว่ายากดีมีจนมาจากไหนไม่ว่าจะไกลหรือใกล้ โดยไม่แบ่งแยกไม่เคยเรียกร้องสิ่งใด และท่านไม่จับ หรือรับเงินที่มาถวายเลย
    ส่วนใหญ่คนที่ไปกราบท่าน จะได้รับวัตถุมงคล จากมือพ่อท่านเขียว ส่วนใหญ่จะเป็น ปลัดขิก ผ้ายันต์รับทรัพย์ ตะกรุดนิมิตรพิสมร และหลวงพ่อทวด รุ่นต่างๆตามแต่ท่านจะเมตตา แต่ถ้าใครขอเฉพาะเจาะจงถ้าท่านมีก็จะได้ครับ คือการแจกทั้งสิ้น พระเครื่องส่วนใหญ่ไม่มีการเช่าหาแต่อย่างใดๆ แต่ก็จะมีพระเครื่องและวัตถุมงคลของ หลวงปู่เขียว ที่ทางวัดสร้าง หรือลูกศิษย์สร้างขึ้นนั้นจะให้เช่าบูชาที่กุฏิเจ้าอาวาส แต่ไม่ใช่ที่กุฏิท่าน เพราะท่านไม่ยุ่งเกี่ยวกับเงินทอง และบางท่านอาจจะยังไม่รู้ว่า พ่อท่านเขียว ท่านไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสนะครับ เพราะท่านไม่ยึดติด พ่อท่านเขียวไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาส พอดีเคยคุยกับหลายท่าน มักเข้าใจว่า หลวงพ่อเขียวท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดห้วยเงาะ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงรูปเหมือนเนื้อว่าน หลวงพ่อศรีแก้ว วัดห้วยเงาะปัตตานี พ่อท่านเขียว อธิษฐานจิตปลุกเสก ปี๒๕๓๖

    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250519_202726.jpg IMG_20250519_202820.jpg IMG_20250519_202656.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,180
    ค่าพลัง:
    +21,388
    FB_IMG_1747727116500.jpg

    หลวงปู่ อั้บ วัดท้องไทร
    บันทึกชีวประวัติพระเดชพระคุณ พระอธิการเกษม(อั๊บ) เขมจาโร
    เจ้าอาวาสวัดท้องไทร ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
    หลวงพ่อมีนามเดิมว่า เกษม ทิมมัจฉา เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2465 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ ที่บ้านแหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
    บิดาชื่อ อุ๋ย ทิมมัจฉา มารดาชื่อ ผิว ทิมมัจฉา เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้อง 12 คน อาชีพเกษรตกร จบการศึกษาชั้นป.2 ในวัยเด็กได้ไปพักกับพระน้าชายชื่อ พระเล็ก ที่วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งขณะนั้นมี พระพุทธวิถีนายก(หลวงปู่บุญ ขันธโชติ) เป็นเจ้าอาวาส
    ซึ่งหลวงปู่บุญเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอันมากแม้แต่สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศ ยังให้ความเคารพ หลวงปู่อั๊บได้เล่าว่า ตอนท่านเป็นเด็กยังได้เคยรับใช้ บีบนวดหลวงปู่บุญบ่อยๆครั้ง เพื่อนเด็กวัดรุ่นเดียวกันนั้นมีอยู่คนหนึ่งต่อมาภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์และได้ทำคุณประโยชน์ให้กับการศึกษาทั้งทางโลกและศาสนาอย่างมากมาย คือพระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณปรมาจารย์ (ท่านเจ้าคุณ ปัญญา) เจ้าอาวาส วัดไร่ขิง นั่นเอง ส่วนพระเล็กพระน้าชายได้บวชที่ วัดใหม่สุคนธาราม อ.นครชัยศรีจ.นครปฐมและได้ย้ายไปจำพรรษาหลายวัด อย่างเช่น วัดห้วยตะโก วัดปลักแรด วัดหนองบัว วัดกลางบางแก้ว เป็นต้น
    ได้บวชเป็นพระนานอยู่ถึง 18 พรรษาจึงลาสิกขาออกมาใช้ชีวิตเป็นฆาราวาสและมีครอบครัวอย่างชาวโลกทั่วไป นับได้ว่าเป็นผู้มีวิชา อาคมขลังคนหนึ่ง ในปีที่หลวงปู่บุญ ได้มรณภาพลงนั้นตรงกับปี พ.ศ. 2478หลวงปู่อั๊บ มีอายุได้ 13 ปี เมื่อหลวงปู่บุญได้มรณภาพลงแล้ว หลวงพ่อเกษม (อั๊บ) ได้กลับไปอยู่กับบิดา-มารดาที่บ้านท้องไทร ช่วยกิจการงานบ้าน ทำนา อย่างขยัยขันแข็ง จนอายุครบที่จะทำการบรรพชา อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้ทำการ อุปสมบท ณ.พัทธสีมา วัดทุ่งน้อย ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
    โดยในสมุดใบสุทธิของหลวงปู่อั๊บ ได้บันทึกไว้ดังนี้.
    พระอุปัชฌาย์ พระอธิการมา วัดทุ่งน้อย พระกรรมวาจารย์ พระอธิการฮะวัดโคกเขมา (อ่านโคกขะเหมา) พระอนุสานาจารย์ พระอธิการพลัด วัดท้องไทร อุปสมบท เมื่อ อายุ 20 ปี เมื่อวันที่ 28 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2485 เวลา15.18 น. ณ.วัดทุ่งน้อย ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม หลังจากอุปสมบทแล้วได้กลับมาอยู่ที่วัดท้องไทร อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
    เมื่อบวชได้ 3พรรษา ได้เดินเท้าไปวัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี เพื่อไปหาพระเล็กพระน้าชายซึ่งขณะนั้นได้ไปพักจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดหนองบัว ขณะนั้นมี หลวงปู่เหรียญ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นเจ้าอาวาสอยู่ หลวงปู่เหรียญท่านนี้ เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ยิ้มอดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อนซึ่งมีวิชาอาคมเก่งกล้าเป็นยิ่งนัก แม้แต่หลวง ปู่ศุขวัดมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกันยังเกรงใจ ในวิชาของหลวงปู่ยิ้ม และยังเคยเดินทางมาพัก ที่วัดหนองบัว
    ส่วนพระสหธรรมิกอีกรูปหนึ่งที่สำคัญของหลวงปู่ยิ้ม คือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบาง แก้ว ในหนังสือประวัติ วัดหนองบัวบันทึกไว้ว่า ในวันที่เผาศพหลวงปู่ยิ้มนั้นไม่สามารถ เผาร่างสังขารของท่านได้ จนต้องนิมนต์หลวงปู่ขึ้นไปทำพิธี จึงสามารถเผาศพของท่านติดไฟได้ นับว่าอัศจรรย์เป็นยิ่งนัก หลวงปู่อั๊บท่านเล่าว่า อยากจะขอเรียนวิชากับหลวง ปู่เหรียญแต่พระน้าชายไม่ยอมให้เรียน แต่ในขณะที่พักอยู่ที่วัดหนองบัวประมาณ 2 เดือน ได้มีชาวบ้านในแถวนั้นได้นำพระเนื้อดินเผาและพระเนื้อผงมาถวายท่าน ( เป็นพระที่สมัยหลวงปู่ยิ้ม แห่งวัดหบองบัวได้ทำการจัดสร้างไว้แล้วนำไปบรรจุไว้ตามในถ้ำในเขตวัดหนองบัว) อาทิเช่น พระพิมพ์ยืนประทานพร พิมพ์ขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว พิมพ์ปางมารวิชัย พิมพ์ 3 ชั้นหูบายศรี พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้นพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้นและพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ เป็นต้น
    เมื่อหลวงปู่อั๊บท่านได้กลับมายังวัดท้องไทร ท่านได้นำพระเหล่านั้นกลับติดตัวมาด้วย บางส่วนท่านได้ทำการแจกให้แก่ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดไปพอประมาณ เมื่อมีผู้ที่นำไปบูชาแล้วได้เกิดอภินิหารมากมายแล้วกลับมาเล่าให้ท่านฟังท่านจึงได้นำชึ้นไปเก็บที่ห้องบนกุฎิท่านและไม่ได้นำออกมาอีกเลย หลังจากที่หลวงปู่ได้กลับมาอยู่ที่วัดท้องไทรแล้วนั้นท่านได้ไปฝากตัวขอเป็นศิษย์ กับ หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
    เพื่อขอเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อน้อย หลวงพ่อน้อยท่านนึ้มีความเก่งกล้าในวิชาอาคมเป็นอย่างยื่งนัก ยิ่งวาจาของท่านแล้วเป็นปกาศิตยิ่งนัก หรือ วาจาศักสิทธิ์นั่นเอง พูดสิ่งใดแล้วมักเป็นสิ่งนั้น แม้แต่หลวงพ่อเงิน แห่งวัดดอนยายหอมยังให้ความนับถือ ซึ่งหลวงพ่อน้อยท่านก็เมตตาถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆให้อย่างไม่ปิดปัง พร้อมทั้งยังมอบ ตำรายันต์พระเวทย์ให้กับหลวงปู่อั๊บมา 1 เล่ม (ของพ่อน้อย วัดธรรมศาลา 1เล่ม หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก 1 เล่ม)
    เป็นตำรายันต์ลายมือหลวงพ่อน้อย มีบางส่วนที่เป็นลายมือของพระตุ๋ยซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อน้อยซึ่ง หลวงพ่อน้อยเรียกมาใช้บ่อยๆเพราะเขียนอักขระเลขยันต์ได้สวยงามดี (ต่อมาได้ลาสิกขาเป็นฆาราวาส) นับได้ว่าหลวงพ่อน้อยท่าน เป็นครูอาจารย์ที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งของหลวงปู่อั๊บเลยที่เดียวและในช่วงเวลาที่หลวงปู่อั๊บว่างท่านได้เดินทางไปกราบ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้องและได้ขอเรียนวิชาจากหลวงพ่อแช่มมาด้วยอย่างเช่น การนำกระเบื้องแตกมาลงอักขระแล้ว นำไปไว้ในใจกลางที่ดินเพื่อที่จะขายเป็นต้น
    ส่วนอีกองค์หนึ่งคือหลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยางซึ่งเป็นสหธรรมมิกกันกับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้องหลวงปู่อั๊บท่านได้กราบขอเป็นศิษย์เช่นกัน แต่หลวงพ่อจันทร์ท่านสั่งให้ไปหาที่วัดและให้นำหัวหมูไปด้วย 1 หัวแล้วท่านจะถ่ายทอดวิชาให้หมด แต่เมื่อหลวงปู่อั๊บได้กลับมาวัดท้องไทรแล้วได้ล้มป่วยลงด้วยไข้มาลาเรียหรือสมัยนั้นเรียกว่าไข้ป่า ท่านเล่าว่าป่วยคราวนั้นเกือบตายเป็นๆหายๆอยู่ประมาณ 3 เดือน เมื่อหายจากไข้จึงทำการเดินทางไปหาหลวงพ่อจันทร์อีกครั้ง แต่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งว่าหลวงพ่อจันทร์ท่านได้มรณภาพลงเสียแล้ว จึงไม่ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อจันทร์เอาไว้เลย
    เมื่อท่านบวชได้ 8 พรรษาหลวงปู่อั๊บได้เดินทางไปยังจ.สุพรรณบุรี เพื่อไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว หลวงพ่อโบ้ยท่านมีความเชี่ยวชาญในสายวิปัสสนากรรมฐานเป็นยิ่งนัก มีความศักดิ์สิทธิ์ใน วิชาอาคมขลังเป็นเลิศ หลวงพ่ออั๊บได้ขอขึ้นกรรมฐานธุดงค์กับหลวงพ่อโบ้ย ซึ่งหลวงพ่อโบ้ย ท่านก็ได้สอนหลักการเดินธุดงค์การอยู่ในป่าให้อย่างละเอียด จึงนับได้ว่า หลวงพ่อโบ้ย คือ ครูกรรมฐานที่แท้จริงของหลวงปู่อั๊บ
    หลังจากหลวงปู่อั๊บได้กลับมาจากวัดมะนาวแล้วท่านได้ไปจำพรรษาที่ วัดโคกเขมา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดท้องไทรมากนัก 1 พรรษา(พรรษา 10) ในปีพ.ศ.2495(พรรษา 11)ได้มีญาติโยมได้นิมนต์ท่านไปอยู่ที่ วัดใหม่ต้านทาน อ.บางซ้าย จ.อยุธยา เมื่อท่านได้มาอยู่ จ.อยุธยาแล้วท่านได้มีโอกาสไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกอ.บางไทร จ.อยุธยา ซึ่งหลวงพ่อจงท่านนี้นั้นนับได้ว่าเป็นเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2เป็นอย่างมาก จนมีผู้คนทั่วไปกล่าวขานคำคล้องจองกล่าวกันว่า
    จาด-จง-คง-อี๋ จาด คือ หลวงพ่อจาด แห่งวัด บางกระเบา จ.ปราจีนบุรี จง คือ หลวงพ่อจง แห่งวัด หน้าต่างนอก จ.อยุธยา คง คือ หลวงพ่อคง แห่งวัด บางกระพร้อม จ.สมุทรสงคราม อี๋ คือ หลวงพ่ออี๋ แห่งวัด สัตหีบ จ.ชลบุรี
    หลวงปู่อั๊บท่านได้เรียนวิชาอาคมจากหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา ไว้มากพอสมควรและหลวงพ่อจง ท่านได้สอนวิปัสนากรรมฐานให้และวิชาอื่นๆอีกหลายๆอย่างด้วยกัน อย่างเช่น วิชาตะกรุดลอยน้ำ ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงและอักขระเลขยันต์ต่างๆ
    ตั้งแต่ปี พ.ศ.2495- พ.ศ.2505 นั้นท่านได้จำพรรษาณ.วัดใหม่ต้านทาน อ.บางซ้าย จ.อยุธยา เป็นเวลา 11 พรรษา หลังออกพรรษาเมื่อรับกฐินแล้ว ท่านได้ออกธุดงค์เพื่อหาความวิเวกทุกๆปี ในช่วงเวลา 11 พรรษานี้ท่านได้เรียนวิชาอาคมต่างๆเพิ่มเติมและฝึกจิตจนมีความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วจากการที่ท่านได้ธุดงค์อยู่ในป่า ถ้ำ เขา ทำให้ท่านมีพลังจิตแกร่งกล้าเป็นยิ่งนัก ท่านเล่าว่าได้เดินธุดงค์ไปทั่วประเทศมาหมดแล้ว
    ในช่วงที่ท่านได้เดินธุดงค์อยู่นั้นได้พบพระธุดงค์ด้วยกันถ้าพระรูปใดได้แสดงวิชาอะไรให้ได้ดูให้เห็นเป็นที่ประจักษ์จริงแก่สายตาแล้ว ท่านขอเรียนไว้หมดโดยท่านบอกว่าไม่สามารถที่จะจำชื่อได้หมด ในช่วงที่ยู่อยุธยานี้ได้ไปขอเรียนวิชาอย่างหนึ่งที่พิศดารยิ่งคือวิชาการทำตะกรุดกัน อสรพิษ จาก หมอถ่าย หมอถ่ายนี้เป็นฆาราวาสที่พักอาศัยอยู่ใกล้ๆกับวัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี หมอถ่ายนี้สามารถเอางูเห่าใส่ย่ามสะพายไปไหนมาไหนได้โดยงูไม่กัดและสามารถนำงูออกมาอาบน้ำในกาละมังได้โดยงูไม่กัด หลวงปู่อั๊บไปขอเรียนอยู่ถึง 7 ปีหมอถ่ายจึงยอมสอนให้แต่ก็ได้ไม่หมดเพราะหลวงปู่อั๊บไม่มีฝิ่นไปบูชาครู
    นับว่าเป็นวิชาที่พิสดารคือถ้าผู้ใดได้คาดตะกรุดกันงูนี้อยู่กับตัว ถ้าไปเหยียบงูพิษเข้า งูไม่สามารถที่จะอ้าปากกัดได้และวิธีการทำก็ยุ่งยากมาก เคยเห็นท่านนั่งผูกตะกรุดกันงูต้องปิดปากเอาลิ้ดันเพดานปากไว้แล้วทำการภาวนาขณะถักตะกรุด ด้านหนึ่งมี 9 เปลาะแล้วเอาตะกรุดร้อยเข้าแล้วจึงถักอีกด้านหนึ่ง 7 เปลาะขณะทำการถักห้ามพูดคุยเด็ดขาด ถ้าเกิดไอหรือจามหรือเผลอพูดออกมาเป็นอันว่าตะกรุดดอกนั้นเสียทันทีต้องแก้ใหม่หมด ท่านบอกว่าเวลาถักตะกรุดกันงูทีไร ฉันอาหารไม่ค่อยได้ไปหลายวัน ในปีพ.ศ.2506-2507 ญาติโยมได้นิมนต์ท่านไปจำพรรษาที่วัดวังชะโด อ.บางซ้าย จ.อยุธยาเป็นเวลา 2 ปีรวมแล้วหลวงปู่อั๊บ มาจำพรรษาอยู่ที่จ.อยุธยาทั้งหมดเป็นเวลาถึง 13 ปี
    ในปีพ.ศ.2508 หลวงปู่อั๊บ มีอายุ 43 ปีญาติโยมทางท้องไทรได้มานิมนต์ให้หลวงปู่กลับมาอยู่ที่วัดท้องไทร อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เพื่อไปโปรดญาติโยมที่บ้านเกิดบ้างท่านจึงได้กลับมาอยู่ที่วัดท้องไทรตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ปีที่ท่านได้กลับมาอยู่วัดท้องไทร นั้นอายุได้ 43 ปีย่าง 44 ปี (ได้24พรรษา)
    ในปีพ.ศ.2509 หลวงปู่อั๊บได้ดำริจะสร้างศาลาการเปรียญขึ้นมาสักหลัง ลูกศิษย์จึงขออนุญาติทำการจัดสร้างเหรียญ ซึ่งเป็นรุ่นแรกของหลวงปู่อั๊บ ขึ้นมาเป็นเหรียญรูปไข่ครึ่งองค์เนื้อทองแดง เพื่อมอบสมนาคุณให้แก่ญาติโยมที่บริจาคทรัพย์สร้างศาลาการเปรียญพร้อมกันนี้ท่านได้ทำการสร้างตะกรุดกันงูขึ้นมาด้วยเพื่อแจกพร้อมกับเหรียญรูปไข่ด้วย
    ญาติโยมที่ได้รับไปบูชานั้นได้พบเจอกับอภินิหารมากมายนับไม่ถ้วนเป็นการสร้างชื่อเสียงขจรขจายให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้จักกับ หลวงพ่อปู่อั๊บ แห่งวัดท้องไทร จนโด่งดังไปทั่วมากยิ่งขึ้นและหลวงปู่อั๊บก็ยังได้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านท้องไทรตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 หลวงปู่อั๊บได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดท้องไทรและยังได้รับการแต่งตั้งเป็น พระกรรมวาจาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านได้นำวิชาต่างๆที่ได้ร่ำเรียนมาสงเคราะห์ู้คนทั่วไปดังนี้.
    1. วิชาการแพทย์แผนโบราณรักษาด้วยสมุนไพร
    2. วิชาการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก-เส้นเอ็น
    3. วิชาการแช่น้ำมนต์
    4. วิชาการถอนคุณไสย(ถอนของ)
    5. วิชาการสักเศกอักขระเลขยันต์
    วิชาการแช่น้ำมนต์ถอนของนี้หลวงปู่อั๊บท่านได้ไปขอเรียนกับ ก๋งสุข ซึ่งเป็นคนจีนบ้านอยู่ที่ จ.อยุธยา ก๋งสุขนี้เมื่อสมัยตอนรุ่นๆได้ต้มน้ำร้อนถวาย หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเท่า เป็นลูกศิษย์ที่รับใช้หลวงปู่ศุขอยู่ถึง 10 ปีหลวงปู่ศุขจึงถ่ายทอดให้มาและได้สั่งเอาไว้ด้วยว่า ถ้ามอบให้ใครแล้วมึงก็ต้องตายเสีย หลวงปู่อั๊บเพียรไปเรียนอยู่ประมาณ 6 ปี ก๋งสุขจึงยอมมอบวิชาให้หลังจากถ่ายทอดวิชาการทำน้ำมนต์ถอนของให้กับหลวงปู่อั๊บ แล้วประมาณ 1 เดือน ก๋งสุขก็เสียชีวิตในวัย 90 ปีเศษ
    วิธีการรักษา ของหลวงปู่อั๊บ แห่ง วัดท้องไทรนั้น
    ผู้ใดสงสัยจะถูก คุณไสย ลมเพลมพัด ท่านจะให้นำน้ำกรองสะอาดใส่ในกาละมังพอมิดหลังเท้าแล้วเอาน้ำมนต์ที่ท่านทำไว้ใส่ลงไปด้วย ล้างเท้าให้สะอาดแล้วจึงเอาเท้าแช่ลงไปในกาละมังนั้นเอาน้ำมนต์ดื่มเข้าไปด้วย ถ้าคนป่วยนั้นถูกคุณไสย ถูกของมาจริงก็จะถูกขับออกมาในกาละมังนั้นโดยแช่วันละ 3 ชั่วโมงติดต่อกัน 3 วันจนครบ 9 ชั่งโมงแล้ว หลวงปู่อั๊บจะรดน้ำมนต์ให้อีกครั้งหนึ่ง
    บางคนเป็นหนักจนไม่ได้สติจนต้องหามกันมาก็มีก็มาหายด้วยน้ำมนต์ของหลวงปู่อั๊บ มากมายนับไม่ถ้วน บางคนอยากจะแช่ทั้งตัวก็มีอ่างปูนซีเมนต์ขนาด 4 เหลี่ยมใส่น้ำลงไปแล้วเอาน้ำมนต์ใส่ลงไปจึงลงไปนั่งแช่ทั้งตัว ค่ารักษาก็มีเพียง ธูป เทียน ดอกไม้และบุหรี่ 1 ซองกับเงินค่าครูแค่ 12 บาทเท่านั้น บางคนเป็นอัมพฤต อัมพาต มาแช่แล้วเอายาไปกินหายเดินได้มาก็มาก ท่านได้สงเคราะห์ผู้คนที่เป็นเช่นนี้มา หลายสิบปี ถ้าจะนับจำนวนผู้ป่วยที่ท่านทำการสงเคราะห์ก็ไม่อาจที่จะสรุปได้ว่ากี่หมื่นกี่พันราย
    ครูอาจารย์ที่หลวงปู่อั๊บได้ไปขอเล่าเรียนวิชามามีดังนี้.
    1.พระเล็ก เป็นพระพี่ชายศึกษาเล่าเรียนวิชาการทำตะกรุดโพธิ์กลับพระเล็กได้ไปเล่าเรียนวิชานี้มาจากหลวงพ่อคำ วัดดอนทราย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี วิชานี้เป็นวิชาสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งหลวงพ่อไม่ค่อยได้ทำให้ใคร เนื่องจากพรรษาหนึ่งเพียง 9 ดอกเท่านั้นและต้องทำจาก แผ่นเงิน และ ทองคำเท่านั้น (ตอนที่ท่านไปเรียนวิชานี้มาจากราชบุรีนั้น หลวงพ่ออั๊บท่านขี่ม้าไปเรียน จนม้าที่หลวงพ่อขี่นั้นตายไปเป็นตัวๆ)
    2.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม ศึกษาเล่าเรียนวิชาอักขระเลขยันต์และพระเวทย์ต่างๆและยังได้ตำรายันต์มาจาก หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลามาอีก 1 เล่ม
    3.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม ศึกษาเล่าเรียนวิชาการลงเลขยันต์ที่แผ่นกระเบื้องแล้วนำไปไว้กลางที่ดินเพื่อให้ขายได้ เป็นต้น
    4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต้างนอก จ.อยุธยา ศึกษาเล่าเรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐานและอักขระเลขยันต์ต่างๆ วิชาการทำตะกรุดลอยน้ำ ซึ่งเป็นเมตามหานิยมอย่างสูง(ตำราอีก 1เล่ม)
    5.หลวงพ่อหอม วัดหนองเสือ จ.นครปฐม ศึกษาเล่าเรียนวิชาทำน้ำมันมนต์สมุนไพรประสานกระดูกละเส้นเอ็น ซึ่งหลวงพ่อหอมเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อจวน หลวงพ่อจวนเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
    6.หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี ศึกษาเล่าเรียนวิชาขึ้นกรรมฐานธุดงค์
    7.ก๋งสุข ศึกษาเล่าเรียนวิชาทำน้ำมนต์ถอนของ
    8.โยมถ่าย ศึกษาเล่าเรียนวิชาการทำตะกรุดกันงู
    ยังมีครูบาอาจารย์อีกหลายๆท่านที่ไม่ได้เอ่ยชื่อไว้ (หลวงพ่อจำไม่ได้) จนนับไม่ถ้วนจนตำราที่ท่านได้ไปศึกษาเล่าเรียนมา หลวงปู่อั๊บท่านบอกเอาไว้ว่าต่อให้มีรถกระบะก็ใส่ตำราที่เรียนมานั้นก็ไม่หมดบางเล่มก็มีคนยืมเอาไปแล้วไม่ได้นำมาคืนหลวงพ่ออั๊บก็หลายเล่มและอีกส่วนหนึ่งก็อยู่ที่ วัดใหม่ต้านทาน จ.อยุธยา
    หมายเหตุ
    อนึงอ้างอิงข้อมูลมาจาก พระอาจารย์พระครูปลัด ขวัญชัย สุจิตฺโต (รักษาการเจ้าอาวาส วัดท้องไทร) นาย นริทร์ กำบัง ผู้จดบันทึก ศิษย์เอกวัดท้องไทร ผู้จัดทำ
    ขอบคุณ ข้อมูลจาก เว็ป วัดท้องไทร มา ณ. ที่นี้ด้วยครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหอระฆังหนึ่งพันชาติ
    หลวงพ่ออั๊บวัดท้องไทร

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250520_142440.jpg IMG_20250520_142512.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,180
    ค่าพลัง:
    +21,388
    1747731562877.jpg

    พระพิมพ์พุทธชินราช เนื้อว่านผสมไคลเสมา หลวงปู่อินทร์ วัดโบสถ์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ปี ๒๔๙๗ หลังเจดีย์ มวลสารเนื้อว่านผสมกับไคลเสมา และผงเก่าของหลวงปู่อินทร์ ที่ท่านได้รวบรวมไว้ ด้านหลังเป็นรูปเจดีย์ องค์พระแห้ง เนื้อจัด โดยพระรุ่นนี้เป็นที่นิยม ภายในท้องที่หากันมาก พระเนื้อผงผสมตะไคร่เจดีย์ เนื้อสรรพว่านผสมแร่ พิมพ์พระพุทธชินราช คราบไคลตะไคร่เสมาเก่า สร้างปี 2497 โดยหลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต วัดโบสถ์ ราชบุรี ประมาณปี ๒๔๙๗ ตามประวัติ หลวงปู่อินทร์ อินทโชโต วัดโบสถ์ จ.ราชบุรี ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นอย่างมาก วิทยาคมแก่กล้า พลังสมาธิจิตอยู่ในระดับสูง วิชาอาคมเลื่องลือในเรื่องขับไล่ภูตผี ปีศาจ น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์มีอานุภาพทางสะเดาะเคราะห์ ปัดเคราะห์ แก้เคราะห์ เสริมดวงชะตา สร้างความเป็นสิริมงคล ขจัดปัดเป่าคุณไสยทั้งปวง ทุกวันนี้ก็ยังมีคนไปรดน้ำมนต์ที่วัดท่านไม่ขาด หลวงปู่อินทร์ ได้สร้างวัตถุมงคลไว้มีหลายประเภท เช่น เสื้อยันต์เกราะเพชร ตะกรุดโทน ตะกรุดชุดคุ้มครองภัย ผ้าประเจียด ผ้ายันต์เมตามหาระรวย ผ้ายันต์ดอกบัว ผ้ายันต์นางกวัก พระสมเด็จฯเนื้อผง พระผงไคลเสมา เหรียญรูปเหมือน เป็นต้น พระผงพุทธชินราชรุ่นนี้ สร้างประมาณปี ๒๔๙๗ มวลสารมีว่านนานาชนิดที่ท่านสะสมไว้ มีพุทธคุณครอบจักรวาล รักษาโรค กันคุณไสยน์ แร่ธาตุศักดิ์สิทธิ์หลายชนิด คราบไคล คราบตะไคร่จากเสมาเก่า ผสมกับมวลสารของท่านที่ได้รวบรวมไว้ มีสร้างพิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่ ด้านหลังเจดีย์นูน และ ว.บ.ใต้ฐานเป็นเอกลักษณ์ ที่ผู้พบเห็นก็ทราบเลย ไม่สับสน เนื่องจากมวลสารหลากหลายชนิด เนื้อหาจึงหยาบมาก บางองค์มองไม่เห็นพิมพ์ทรง มวลสารเยอะ เหมือนลงกรุ ส่องเพลิน ต้องเห็นแร่ระยิบระยับ ของดี ปีลึก สะสมได้สบายใจ หลวงปู่อินทร์เทวดา ท่านทำน้ำมนต์ไล่ผี แก้คุณไสย์ ชงัดนัก คนเก่าๆ บอกว่าท่าน หายตัวได้ เดินบนน้ำก็ได้ เคยมีคนแอบเห็น มีด ปืน ไม่มีได้กินเสียล่ะ คนเก่าๆ เขาเรียนกับหลวงปู่อินทร์เทวดา ทั้งนั้น พระครูประสาทสังวรกิจ "หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนามของ " หลวงปู่อินทร์ อินทโชโต" แห่งวัดโบสถ์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาคม สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตาอายุ อาบน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ให้ผู้ที่มีความเดือดเนื้อ ร้อนใจ หลวงปู่อินทร์ มีลูกศิษย์ลูกหามากมายจากหลากหลายวงการ อาทิ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักการเมือง พ่อค้า ดารา นักแสดง เป็นต้น ท่านเป็นชาวโพธาราม จ.ราชบุรี โดยกำเนิด นอกจากนี้ เมื่อปี 2475 ท่านยังเป็นพระ กรรมวาจาจารย์ ประกอบพิธีอุปสมบทให้แก่หลวงปู่หลิว แห่งวัดไร่แตงทอง จ.กาญจนบุรี อีกด้วย หลวงปู่อินทร์ ท่านมรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2513 สิริอายุ 74 ปี พระผงไคลเจดีย์ หลวงปู่อินทร์ วัดโบสถ์ อ.โพธาราม สร้างประมาณปี 2497 ไล่ๆกันกับเหรียญรุ่นแรกของท่าน ซึ่งราคาหลักหมื่น เก็บพระผงไคลเจดีย์ของท่านดีกว่าราคาเบากว่ากันเยอะแถมสร้างในช่วงเดียวกันอีกตะหาก ประสบการณ์ของพระรุ่นนี้ก็สูง เจอกันมาเยอะ เรื่องคงกระพันนี่นำโด่งมาเลย อาราธนาติดตัวเป็นประจำไปไหนมาไหนอุ่นใจดี พระรุ่นนี้ของหลวงปู่อินทร์ ต้องบอกว่าของท่านดีจริงๆ เพราะท่านทำในวัดด้วยตัวเอง โดยเอาพระเก่าๆ บวกผงพุทธคุณที่ท่านเขียน ผสมรวมกับดอกไม้ขี้ธูป และ ที่สำคัญคือ "ขี้ตะไคร่" ของพระและผนังในโบสถ์อายุเป็นร้อยๆปี ภายในวัดท่านลอกออกมาผสมด้วย เมื่อก่อนท่านแจกฟรีกับญาติโยมที่มาทำบุญในวัด คนแถววัดรู้ดีว่า ใครห้อยพระรุ่นนี้ไม่มีตายโหง วัยรุ่นแถวพื้นที่ ขี่จักรยานยนต์ประสบอุบัติเหตุ ห้อยพระรุ่นนี้ ไม่เคยมีใครเจ็บหนักๆให้เห็นเลย พระของหลวงปู่เป็นของดี
    ที่วัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เป็นวัดแห่งหนึ่งที่มีประวัติตำนานมหัศจรรย์น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา หลวงปู่อินทร์ อินทโชโต เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์มีชื่อเสียงกิตติคุณปรากฏในด้านวิปัสสนาธุระและไสยเวทวิทยาคม นับเป็นเพชรน้ำเอกของชาวโพธาราม จ.ราชบุรี ในยุคนั้น ภายในอำเภอโพธารามมีพระเกจิอาจารย์เรืองอาคมรุ่นเดียวกับหลวงปู่อินทร์ วัดโบสถ์ ได้แก่หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน หลวงแหยม วัดบ้านเลือก หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ หลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ หลวงพ่อย่น วัดบ้านฆ้อง ตามประวัติหลวงปู่อินทร์ที่เล่าสืบกันมาท่านสืบเชื้อสายมาจากลาวเวียงจันทน์ บรรพชาอุปสมบทที่วัดโบสถ์ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาลัตรที่พระครูประสาทสังวรกิจ หลวงปู่อินทร์ อินทโชโต ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนทั่วไป วิทยาคมแก่กล้า พลังสมาธิจิตอยู่ในระดับสูง ท่านยังมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านแพทย์แผนโบราณ สามารถในการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บ แม้แต่ชานหมากของท่านยังขับไล่พิษงูได้อย่างเหลือเชื่อ วิชาอาคมเลื่องลือในเรื่องขับไล่ภูติผีปีศาจ น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์มีอานุภาพทางสะเดาะเคราะห์ ปัดเคราะห์ แก้เคราะห์ เสริมดวงชะตา สร้างความเป็นสิริมงคล ขจัดปัดเป่าคุณไสยทั้งปวง หลวงปู่อินทร์ได้รับนิมนต์ให้เข้าร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลพร้อมกับพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยยุคนั้น เช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อเต๋ คงทอง หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เป็นต้นวัตถุมงคลที่ได้สร้างไว้มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ปรากฏหลายประเภท เช่น เสื้อยันต์เกราะเพชร ตะกรุดโทน ตะกรุดชุดคุ้มครองภัย ผ้าประเจียด ผ้ายันต์เมตามหาระรวย ผ้ายันต์ดอกบัว ผ้ายันต์ นางกวัก พระสมเด็จเนื้อผง พระผงไคลเสมา เหรียญรูปเหมือน เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังมีวิชาสักน้ำมันงาด้านคงกระพันชาตรีและเสน่ห์เมตตามหานิยม หลวงปู่อินทร์มรณภาพเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2513 อายุ 74 ปี ศิษย์เอกผู้สืบทอดพุทธาคมและตำรับน้ำมนต์ศักดิ์สทธิ์ไปจากท่าน ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ลำดับต่อมาก็คือ พระครูโพธารามพิทักษ์ หรือ หลวงพ่อเขียน สิริมังคโล เจ้าคณะอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

    get_auc1_img (7).jpeg

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระพุทธชินราชเนื้อว่านผสมไคสเสมาหลวงปู่อินทร์ วัดโบสถ์ ราชบุรี

    ให้บูชา 450 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250520_142642.jpg IMG_20250520_142701.jpg
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,180
    ค่าพลัง:
    +21,388
    FB_IMG_1747738237351.jpg

    ประวัติหลวงพ่อบุญเรือน อินทสุวัณโณ ผู้เลื่องชื่อในฐานะพระปฏิบัติและพระเกจิอาจารยืแห่งวัดยางฯ ได้มเตตาเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวครั้งอดีตของท่านให้ทราบว่า ท่านมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ในสกุล "หิรัญวิจิตร" ซึ่งเป็นครอบครัวชาวไทยที่ไปตั้งรกรากที่นั่นตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
    บิดาชื่อนายเหรียญ หิรัญวิจิตร มารดาชื่อนางต๊วด เป็นชาวพระตะบอง ท่านเกิดในปี พ.ศ. 2461
    การที่โยมพ่อ-โยมแม่ให้ชื่อว่า "บุญเรือน" นั้น เป็นผลมาจากการที่ท่านเกิดมามีลักษณะแปลกกว่าทารกอื่นๆทั่วไป ตรงที่เมื่อคลอดออกมาจากครรภ์มารดาปรากฏว่ามีรกพันติดตัวออกมาด้วย รกนั้นมีลักษณะคล้ายสายสังวาล บริเวณอกมีรกม้วนกลมเป็นก้อน โดยกันว่าทารกที่เกิดมาในลักษณะนี้เป็นผู้มีบุญญาธิการ คนโบราณถือว่าเป็นเทพเทวดาชั้นสูงจุติมาเกิด
    บิดามารดาตลอดจนผู้ใหญ่จึงได้ให้ชื่อว่า "บุญเรือน" คือ เกิดมาด้วยบุญบารมี คือ มี "บุญ" เป็นเรือนกำเนิด
    เมื่อเจริญวัยได้พอสมควร เด็กชายบุญเรือนก็มีโอกาสได้เรียนอักษรต่างๆที่วัด ตามธรรมเนียมในสมัยนั้น จากพระสงฆ์องค์เจ้าต่างๆ จนจบระดับปั้นประถมปีที่ 4 ซึ่งถือว่าสูงสุดที่มีอยู่ในเวลานั้น จึงลาออกมาจากรงเรียนมาช่วยงานพ่อแม่ทำไร่ไถนาไปตามประเพณีชนบท
    ต่อมาในปี 2485 บิดามารดาเห็นว่าเด็กชายบุญเรือนโตเป็นหนุ่มน่าจะมีครอบครัวได้แล้ว จึงเลียบเคียงถามว่าพร้อมจะแต่งงานแล้วหรือยัง พอถูกถามเรื่องนั้นเด็กชายบุญเรือนจะตอบไปตามตรงว่า ยังไม่คิดเรื่องนั้น และหากจะแต่งงานเป็นสามีคน และเป็นพ่อคนได้ ตัวท่านเองจะต้องบวชเรียนตามประเพณีเสียก่อน
    ด้วยเหตุนั้น เด็กชายบุญเรือนจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทในปีนั้น เมื่อมีอายุได้ 24 ปี โดยได้จัดพิธีท่ามกลางหมู่สงฆ์ที่พระอุโบสถเขตพัทธสีมาวัดสำโรง เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา มีพระเถระประกอบพิธีให้ดังนี้
    พระมุนีวิสุทธิวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์เอี่ยม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระปลัดญาณสัทธา เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ได้รับฉายาทางศาสนาว่า "อินทสุวัณโณ"
    หลังอุปสมบท พระภิกษุบุญเรือน อินทสุวัณโณ ได้ศึกษาพระธรรม ปฏิบัติจริยวัตรอันงดงาม โดยมีท่านพระครูมุนีวิสุทธิวงศ์ พระอุปัชฌาย์เป็นผู้อบรมสั่งสอนอย่างใกล้ชิด หลวงพ่อบุญเรือนปฏิบัติได้ดีจนพระอุปัชฌาย์เอ่ยปากชมแก่พระเณรทั้งหลาย และถ่ายทอดวิทยาคมให้จนหมดสิ้น ทำให้หลวงพ่อบุญเรือน เป็น "หลวงพ่อ" ตั้งแต่วัยหนุ่มเลยทีเดียว
    เป็นศิษย์ยอดเกจิเมืองเขมร
    หลังจากเจนจบวิชชาจากพระอุปัชฌาย์ ต่อมาหลวงพ่อบุญเรือนได้ทราบกิตติศัพท์ของหลวงพ่อดี วัดปทุมรัตน์ว่ามีเวทมนตร์คาถาขลงยิ่งนัก อีกทั้งกรรมฐานก็เป็นเยี่ยมอย่างยากที่จะหาครูบาอาจารย์ในแดนเขมรมาเทียบได้ พระภิกษุบุญเรือนจึงเดินทางไปยังนครวัดเพื่อฝากตัวเป็นสิษย์หลวงพ่อดีที่วัดปทุมรัตน์
    หลวงพ่อดีท่านมิได้รับทุกคนเป็นศิษย์ง่ายๆ ท่านมีวิธีการทดสอบจิตใจและเพ่งดูด้วยฌาณยากที่ปุถุชนจะหยั่งถึง ซึ่งหลวงพ่อบุญเรือนก็ผ่านการทดสอบไปได้โดยไม่ยากลำบากแต่อย่างใด
    หลังจากเจนจบอาคมจากหลวงพ่อดี หลวงพ่อบุญเรือนก็ได้ออกจาริกธุดงคืไปตามป่าเขาลำเนาถ้ำเพื่อฝึกฝนจิตต่อไป
    ไม่นานนัก หลวงพ่อบุญเรือนก็ได้เดินทางจากเขมร มายังไทย และได้ทราบข่าวครูบาอาจารย์เขมรอีก 2 องค์ คือ หลวงปู่หิน ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม วัดของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี อมตะสงฆ์ตลอดกาล และอีกท่านหนึ่งคือ หลวงปู่มุด วัดยางสุทธารามซึ่งก็ไม่ไกลจากวัดระฆัง หลวงพ่อบุญเรือนกล่าวว่า พระอาจารยฺที่เรืองวิชาอาคมมีไม่น้อย แต่ที่เข้ามาอยู่ กรุงเทพ ส่วนใหญ่จะพำนักอยู่ฝั่งธนบุรีมาก
    เมตตาจากหลวงปู่หิน
    ได้เดินทางแกราบหลวงปู่หิน วัดระฆัง โดยลงเรือล่องไป ท่านได้รับความเมตตาจากหลวงปู่หินอย่างมากถึงขนาดหลวงปู่หินชักชวนให้มาอยู่ด้วยกัน เมื่อมาอยู่ที่วัดระฆัง หลวงพ่อบุญเรือนก็ได้ต้งใจศึกษาเล่าเรียนมนต์คาถาอักขระต่างๆ จากนั้นระยะหนึง ได้ติดตามหลวงปู่หินไปกราบหลวงปู่มุดวัดยาง เพราะท่านทั้งสอง(คือหลวงปู่หินและหลวงปู่มุด) มักไปมาหาสู่กันประจำ
    คราวหนึ่งบ้านพ่อค้าย่านพรานนกได้ทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน เจ้าของบ้านได้นิมนต์พระมามากมาย หลวงพ่อบุญเรือนในฐานะพระใกล้บ้านก้ได้รับนิมนต์ไปเช่นกัน
    เมื่อพิธีการดำเนินมาถึงเวลาทำน้ำมนต์เพื่อประพรมให้เจ้าของบ้าน เจ้าภาพนึกอย่างไรก้ไม่ทราบได้ ได้ยกบาตรน้ำมนต์ให้หลวงพ่อบุญเรือนเป็นผู้ทำพิธีอธิษฐานจิต ซึ่งหลวงพ่อบุญเรือนก็ไม่ได้คิดว่าท่านจะเป็นผู้ทำน้ำมนต์ แต่ท่านก็ทำให้ ในครั้งนั้นได้เกิดเหตุการณ์ปาฏิหาริย์ คือ น้ำมนต์ที่หลวงพ่อบุญเรือนปลุกเสกเกิดเดือดขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ มีผู้คนเห็นมากมาย จนต่อมามีผู้มาขอให้ท่านรดน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์มากมายจวบจนท่านมรณภาพ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญรุ่น๓ หลวงปู่บุญเรือนหลังพระพรหม
    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250520_142543.jpg IMG_20250520_142610.jpg
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,180
    ค่าพลัง:
    +21,388
    วันนี้จัดส่ง
    1747748275091.jpg 1747748277090.jpg
    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...